โต้ข้อกล่าวหาทักษิณโกงอย่างย่อ

 สารบัญบล็อก

บทความนี้ได้เคยเผยแพร่มาแล้วในช่วงปี 2553 ในรูปไฟล์ pdf ขนาด A4 โดยสรุปจากบทความที่เขียนเผยแพร่ทางเว็บไชต์ต่างๆก่อนที่ศาลจะตัดสินคดียึดทรัพย์เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ปี 2553 แต่ไฟล์ pdf ขนาด A4 ไม่สะดวกต่อการอ่านบนมือถือ จึงได้จัดทำใหม่ ท่านที่ต้องการในรายละเอียดซึ่งอยู่ในบทความในบล็อกชื่อ ทักษิณโกงจริงหรือ ??? < แตะเพื่ออ่าน ในบทความนี้จะมีลิงค์ความเห็นกลุ่มอาจารย์นิติราษฎร์ต่อคดียึดทรัพย์นี้ด้วย

 ปี 2543  นายกทักษิณโอน-ขายหุ้นของบริษัทชินคอร์ปทั้งหมด (1,400 ล้านหุ้น) ให้ลูกและญาติทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามกม.รัฐธรรมนูญปี 2540 ว่าด้วยเรื่องการถือหุ้น และได้มีการแจ้งเรื่องดังกล่าวให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบ ก็คือ ได้มีการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากนายกทักษิณเป็นชื่อของลูกและญาติเรียบร้อยแล้ว

ปี 2544 นายกทักษิณเข้าสู่วงการเมือง (พรรคไทยรักไทย)

ปี 2549 (เดือนมกราคม) ลูกและญาติได้ขายหุ้นชินคอร์ปฯไปทั้งหมด (1,400 ล้านหุ้น)

เหตุที่ท่านนายกทักษิณได้แนะนำให้ลูกและญาติขายหุ้นชินคอร์ปฯทั้งหมด ก็เพื่อจะได้หมดข้อครหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน (ราคาขายหุ้นละ 49.25 บาท มูลค่าทั้งหมด 7.6 หมื่นล้านบาท)

ปี 2549 (19 ..) คมช.ทำรัฐประหารและได้ตั้งคตส.เพื่อกล่าวหานายกทักษิณว่า ใช้ตำแหน่งนายกเอื้อผลประโยชน์ให้ธุรกิจของตัวเอง มีผลทำให้ราคาหุ้นของชินคอร์ปฯสูงขึ้นซึ่งนำไปสู่การฟ้องต่อศาล

ปี 2553 (ปลายเดือน กพ.) ศาลตัดสินว่า นายกทักษิณไม่ได้ขายหุ้นให้ลูกและญาติจริง (ซุกหุ้น) และใช้ตำแหน่งนายกเอื้อประโยชน์ธุรกิจของตัวเองจนทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น จึงได้พิพากษาให้ยึดเงินที่ได้จากการขายหุ้นจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาทให้ตกเป็นเงินของรัฐ

ศาลจะตัดสินยึดทรัพย์ได้ ต้องพิพากษาว่าหุ้นชินคอร์ปฯยังเป็นของนายกทักษิณ (ไม่ได้มีการขายหุ้นให้ลูกและญาติจริง) ตอนที่นายกทักษิณขายหุ้นให้ลูกและญาติเมื่อปี 2543 ลูกและญาติไม่ได้ชำระค่าหุ้นทั้งหมดในทันที แต่ใช้วิธีผ่อนชำระค่าหุ้นโดยนำเอาเงินปันผลที่ได้รับในแต่ละครั้งมาชำระให้นายกทักษิณ ประเด็นนี้แหละที่ศาลยกขึ้นมาอ้างว่านายกทักษิณไม่ได้มีการขายหุ้นให้ลูกและญาติจริง

ถ้าท่านทักษิณสามารถใช้ตำแหน่งนายกทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นได้ แสดงว่าราคาหุ้นของชินคอร์ปต้องขึ้นสูงกว่าราคาหุ้นของบริษัทอื่นๆ ราคาหุ้นของบริษัทต่างๆเมื่อต้นปี 2549 เพิ่มขึ้นจากตอนต้นปี 2545 เป็นดังนี้

ศูนย์บริการเหล็กสยาม 21.9 เท่า, รพ.รามคำแหง 19.6 เท่า, อะโรเมติกส์ 11.4 เท่า, ปตท. 5.6 เท่า, ปูนซิเมนต์ไทย 4.3 เท่า, รพ.กรุงธน 3.9 เท่า, .กสิกรไทย 2.8 เท่า, .ไทยพาณิชย์ 2.1 เท่า, .กรุงเทพ 1.9 เท่า, ชินคอร์ปฯ 1.8 เท่า, UCOM (DTAC) 1.7 เท่า [ราคาหุ้นที่นำมาคำนวณ นำมาจาก factbook ของ กลต.]

อัตราการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นของบริษัทต่างๆเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า นายกทักษิณใช้ตำแหน่งนายกทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นได้จริงหรือไม่

ข้อเท็จจริง คือ ปัจจัยที่มีผลต่อการขึ้นลงของราคาหุ้น มีหลายอย่าง เช่น ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และผลการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ เป็นต้น ผลการดำเนินงานของบริษัทนั้น ถือว่ามีส่วนสำคัญมาก จะออกมาดีมีกำไรมากขนาดไหน ขึ้นอยู่ความสามารถของผู้บริหารของบริษัทในการกำหนดทิศทางของบริษัท กลยุทธ์ของบริษัท

ธุรกิจของนายกทักษิณกำไรมากกว่าบริษัทอื่นหรือไม่? อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ภาษาชาวบ้านก็คือกำไรเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุน” ) ของบางบริษัทตั้งแต่ปี 2544 – 2549 (คิดโดยเฉลี่ย) : ปูนซิเมนต์ไทย 48%, ปตท 36%, อมตะคอร์ปฯ 30%, ซีเอ็ด 28%, แลนด์แอนด์เฮ้าส์ 24%, น้ำมันพืชไทย 21%,ชินคอร์ปฯ 20% [อัตรากำไรเหล่านี้นำมาจากรายงานประจำปีของแต่ละบริษัท]

 

ประเด็นต่างๆที่คตส.กล่าวหานายกทักษิณและนำไปสู่การตัดสินยึดทรัพย์

ลดค่าสัมปทานให้ AIS

เดือนเมษายนปี 2544 DTAC ได้รับการแก้ไขสัญญาให้จ่ายในอัตรา 18% ของรายได้ ดังนั้น AIS จึงได้ร้องขอความเป็นธรรมและได้รับการลดอัตราค่าสัมปทานในเดือนพฤศจิกายน จาก 25% เหลือ 20%

แม้ว่าตั้งแต่ปี 2545 - 2549 AIS จะจ่ายค่าสัมปทานในอัตราที่ลดลงก็ตาม แต่รัฐกลับได้รับผลประโยชน์จาก AIS ตั้งแต่ปี 2545 - 2549 เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ในรูปของค่าสัมปทาน ภาษีสรรพสามิต และ ภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมเป็นเงินประมาณกว่า 5 หมื่นล้านบาท

และเมื่อ AIS ได้รับการลดอัตราค่าสัมปทาน ก็ได้ลดค่าโทรให้แก่ผู้ใช้มือถือลงเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันค่าโทรมือถือถูกลงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับค่าโทรในปี 2544 การลดค่าสัมปทานจึงได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้ง 3 ฝ่าย คือ ผู้ใช้มือถือ รัฐ และบริษัทมือถือ

จำนวนผู้ใช้มือถือ

ข้อความในข้อกล่าวหาบริษัท เอไอเอส มีผู้ใช้บริการในปี 49 ไม่น้อยกว่า 17 ล้านราย จากเดิมที่มีผู้ใช้บริการในปี 42 เพียง 23,000 ราย” 

ข้อเท็จริง คือ จำนวนผู้ใช้มือถือของค่าย AIS ในปี 2549 เพิ่มขึ้นประมาณ 2.7 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2544 ในขณะที่ DTACเพิ่มขึ้น 3.5 เท่า

รายได้ของ AIS เปรียบกับ DTAC (ปี 2544 – 2548)

รายได้แต่ละบริษัทเพิ่มขึ้นจากปีก่อน (คิดโดยเฉลี่ย) AIS เพิ่มขึ้น 19% , DTAC เพิ่มขึ้น 18%

ถ้าใช้วิธีเปรียบเทียบรายได้ปี 2548 กับ ปี 2544 AIS เพิ่มขึ้น 91.1% , DTAC เพิ่มขึ้น 90.9%

อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ของ AIS มากกว่า DTAC เล็กน้อย ไม่ได้เกิดจากการเอื้อประโยชน์ของท่านทักษิณอย่างแน่นอน แต่เกิดจากคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์ของ AIS ดีกว่าของ DTAC ข้อเท็จจริงอันนี้เชื่อว่าทุกคนที่ใช้มือถือในช่วงปี 44 – 48 รู้เป็นอย่างดี

ออกกฎหมายแปลงค่าสัมปทานโทรศัพท์เป็นภาษีสรรพสามิต

ก่อนออกกฎหมายไม่ว่าจะเป็น AIS หรือ DTAC จะจ่ายค่าสัมปทานทั้งหมดให้แก่ ทีโอที หรือ กสท. ในอัตรา 20 – 25% ของรายได้ โดยจ่ายตอนสิ้นปี (สมมติว่าแต่ละบริษัทจ่ายปีละ 240 ล้านบาท)

แต่เมื่อแก้กฎหมายแล้ว แต่ละบริษัทยังคงจ่ายปีละเท่าเดิมคือ 240 ล้านบาท โดยจ่ายให้ ทีโอที หรือ กสท 120 ล้านบาท ส่วนอีก 120 ล้านบาทไปจ่ายให้กรมสรรพสามิต (ต้องจ่ายเป็นรายเดือนๆละ 10 ล้านบาท)

จะเห็นได้ว่ารัฐได้ประโยชน์มากกว่าเพราะว่าเงินเข้ารัฐโดยตรงและเข้าเป็นรายเดือน แต่ถ้าไม่มีการแปลงค่าสัมปทาน ทีโอที หรือ กสท. ก็จะนาเอาเงินส่วนนี้ไปถลุง เช่น จ่ายเงินปันผลให้พนักงาน

ในอดีตประชาชนเคยเจ็บช้ำกับการขอหมายเลขโทรศัพท์บ้าน ขอยากเย็นมากในเขตกทม.ต้องเสียเป็นแสนบาทจึงจะได้เบอร์โทรศัพท์ ค่าโทรศัพท์ทางไกลที่แสนจะแพงมหาโหด โทรจากกรุงเทพไปเชียงใหม่นาทีละ 18 บาท ทีโอทีไม่ใช่หรือที่สร้างความเจ็บช้ำให้กับพวกเรา

ให้พม่ากู้เงินรัฐบาลไทยซื้อสินค้าซื้อสินค้าชินคอร์ป

หน่วยงานของรัฐและเอกชนหลายแห่งของพม่า ซื้อบริการจากดาวเทียมไทยคมและอุปกรณ์ต่างๆจากบริษัทชินแซตมาตั้งแต่ปี 2541 (ก่อนทักษิณเป็นนายก) ในปี 2546 ไทย พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ร่วมมือกันทำ ยุทธศาสตร์ความมือกันทางเศรษฐกิจ

ไทยจึงประกาศให้วงเงินกู้แก่สมาชิกประเทศละประมาณ 4,000 ล้านบาทผ่านธนาคารเพื่อการและนำเข้าของไทย (EXIM Bank) เพื่อใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อจากบริษัทของไทย เพื่อนำไปใช้สาหรับโครงการสาธารณูปโภคของประเทศนั้น

ในปี 2547 พม่าใช้วงเงินกู้ไปประมาณ 300 ล้านเพื่อชำระค่าอุปกรณ์/บริการดาวเทียมให้แก่ไทยคม ต่อมาในปี 2549 พม่าก็ได้ซื้ออุปกรณ์/บริการจากไทยคมอีก แต่จ่ายชำระให้ไทยคมด้วยเงินของตนเองทั้งๆที่ยังมีวงเงินกู้เหลืออยู่ ส่วนลาวและกัมพูชาก็ใช้บริการของไทยคมมาตลอด แต่ไม่เคยใช้วงเงินกู้เพื่อชำระค่าอุปกรณ์/บริการเลย

พม่าไม่ได้มีการเบี้ยวเงินกู้แต่อย่างใดและไม่มีปัญหาเรื่องการชำระหนี้เงินกู้ เพราะพม่ามีรายได้เป็นจำนวนมากจากสัมปทานต่างๆ เช่น ปตท.ต้องจ่ายค่าแก๊สและน้ามันให้พม่าปีละหลายหมื่นล้าน ผลพวงจากการให้วงเงินกู้ก็คือ ปตท.ได้สัมปทานบ่อแก๊สนับแสนล้านบาท

นอกจากนี้นายกทักษิณยังได้ขอให้พม่าช่วยจัดการแหล่งผลิตยาเสพติดในพม่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นโยบายปราบยาเสพติดของนายกทักษิณได้ผล

 

ทักษิณขายหุ้น VS ลุงที่เชียงรายขายทองคำ (ภาค 1)

ผมได้มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี 50 - 51 และได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวไร่ชาวนา

มีลุงคนหนึ่งถามผมว่า

รัฐเขาจะยึดเงินทักษิณเป็นหมื่นล้านเพราะทักษิณทุจริต โกงกินเงินของชาติใช่มั๊ย

ผมก็เลยตั้งคำถามกลับไปว่าถ้าเมื่อสิบปีที่แล้วลุงมีทองคำ 1 เส้นหนัก 10 บาท ตอนนั้นราคาทองคำบาทละ 5,000 บาท พอมาถึงปีนี้ทองคำราคาบาทละ 15,000 บาท ลุงก็เลยขายทองคำทั้ง 10 บาทออกไป

ได้เงิน 150,000 บาท แล้วมีคนกล่าวหาลุงว่า ลุงร่ำรวยผิดปกติ ไปโกงเขามา ไปลักขโมยเขามา ลุงว่ามันถูกต้องไหมล่ะ

ลุงแกตอบผมว่า อ้าว ก็เมื่อสิบปีที่แล้วลุงมีทองคำหนัก 10 บาท และตอนขายลุงก็มีทองคำหนัก 10 บาทเหมือนเดิม แล้วจะกล่าวหาว่าลุงไปขโมยของคนอื่นมาได้อย่างไร

ผมก็เลยบอกลุงไปว่า ก่อนจะเล่นการเมืองคุณทักษิณเขามีหุ้นอยู่ 1,400 ล้านหุ้น พอมาถึงปี 2549 คุณทักษิณจึงขายหุ้น 1,400 ล้านหุ้นออกไปได้เงิน 76,000 ล้านบาท รัฐเขาจะยึดเงิน 76,000 ล้านบาทนี่แหละ

ผมถามต่อ "ลุงรู้ไหมว่าหุ้นคืออะไร

ลุงแกตอบผมว่าลุงไม่รู้จักหรอก ไอ้หุ้นเหิ่นเนี่ย

ผมก็จึงบอกว่าหุ้นมันก็ไม่ต่างจากทองคำหรอกลุง

ลุงแกก็พูดต่ออ้อ เรื่องมันอย่างนี้ นี่เอง

ผมก็เลยถามต่อแล้วลุงคิดว่าทักษิณโกงกินหรือไม่

ลุงแกตอบว่าเมื่อก่อนลุงก็เชื่อตามที่ฟังข่าว ว่าทักษิณโกงกินจริง แต่พอเอ็งยกตัวอย่างเรื่องทองคำ ลุงจึงเข้าใจ

แล้วแกก็พูดต่อว่า มันใส่ร้ายกันนี่หว่า น่าสงสารนายกทักษิณจัง


ทักษิณขายหุ้น VS ลุงที่เชียงรายขายทองคำ (ภาค 2)

แล้วลุงแกก็ถามต่อ "แล้วไอ้แอมเพิ่ลรงเพิ่ลริชล่ะ มันเป็นอย่างงัย"

ผมก็เลยย้อนถามลุงว่าถ้าเมื่อสิบปีที่แล้ว ทองคำของลุง 10 บาทนั้นเป็น 2 เส้น เส้นหนึ่ง 2 บาท และอีกเส้น 8 บาท ลูกชายลุงจะไปทำงานในเขมร ลุงเลยเอาเส้น 2 บาทให้ลูกชาย เมื่อลูกชายกลับมาก็เอามาคืนให้ลุง แล้วลุงก็ขายทอง

ทั้งสองเส้น รัฐฯเขาจะเก็บภาษีจากลุง เพราะลุงไปซื้อทองคำจากเขมรมา ราคาแค่บาทละ 5,000 บาท แต่ตอนนี้ลุงขายได้บาทละ 15,000 บาท ทองคำเส้น 2 บาทลุงมีกำไร 20,000 กว่าบาท ลุงต้องเสียภาษี"

ลุงแกพูดว่า "ไอ้ทองเส้น 2 บาท เดิมมันอยู่ที่เชียงรายนี่ มันก็เป็นของลุงมาตั้งแต่ต้น และก็เป็นเส้นเดิมที่ลุงให้ลูกชายไป ลูกชายลุงมันไม่ได้ไปเปลี่ยนเป็นทองคำของเขมรเลยนี่หว่า"

แล้วผมก็บอกว่า "ทักษิณเขาเอาหุ้นส่วนหนึ่งไปให้แอมเพิ่ลริชเป็นผู้ถือไว้ที่เกาะบริติชเวอร์จิน ผ่านไป 7 ปี แอมเพิ่ลริชก็ส่งหุ้นคืนทักษิณ แล้วทักษิณก็ขายหุ้นทั้งหมด"

ลุงแกท่าทางยังงงอยู่ ???

ผมก็เลยพูดต่อว่า "หุ้นที่แอมเพิ่ลริชถือไว้ที่เกาะบริติชเวอร์จิน ก็เหมือนกับ ทองคำที่ลูกชายลุงใส่อยู่ที่เขมร พอผ่านไป 10 ปี ลูกชายลุงก็เอามาคืนให้ลุง  แล้วลุงก็ขายทองทั้งสองเส้น"

แล้วลุงก็ยังถามผมต่อและไอ้ที่เขาพูดกันว่าทักษิณซุกหุ้นล่ะ มันเป็นยังงัยกัน

ผมก็ตอบไปว่าการที่ทักษิณเอาหุ้นไปให้แอมเพิลริชถือไว้ที่เกาะบริติชเวอร์จินนั่นแหละ เขาพากันประนามว่าทักษิณซุกหุ้น ถ้าจะเปรียบกับทองคำของลุง เขาก็จะประณามลุงว่าซุกทองคำไว้ที่เขมร

ลุงพูดต่อข้านึกว่า นายกทักษิณไปขโมยหุ้นใครเขามา จึงต้องเอาไปซุกซ่อน คนในหมู่บ้านบางคนด่าทักษิณว่า รวยเป็นเศรษฐีแล้วยังงกไปขโมยหุ้นคนอื่นไปซุกซ่อนอีก ที่แท้ก็เป็นหุ้นของเขาเอง

แล้วลุงก็ถามต่อทำไมต้องใช้คำว่า ซุกหุ้น ใช้คาอื่นไม่ได้หรือไง

ผมตอบใช้คำว่า ซุกหุ้น ก็เพื่อให้คนที่ได้ยินได้ฟังมีความรู้สึกว่า ทักษิณเป็นคนโกง เป็นคนเลวร้าย

ลุงแกพูดต่อ "ชาวบ้านรักทักษิณเยอะ คนขี้อิจฉามันทนไม่ได้ เลยใส่ร้ายท่าน"

 

ข้อกล่าวหาซุกหุ้นที่แอมเพิ่ลริช

เดิมตระกูลชินวัตรถือหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ 1,400 ล้านหุ้น กลางปี 2542 ได้โอนหุ้นกว่า 300 ล้านหุ้นไปอยู่ในบริษัทแอมเพิลริช (เป็นบริษัทที่นายกทักษิณตั้งขึ้นบนเกาะบริติเวอร์จิ้นและถือหุ้น 100%) เพื่อเตรียมจะไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นแนสแดกของสหรัฐฯ

จุดประสงค์เพื่อจัดหาเงินทุนจากตลาดหุ้นแนสแดก เพื่อนำมาขยายการลงทุนด้านโทรคมนาคมในประเทศไทย (หุ้น 300 กว่าล้านหุ้นนี้ จะสามารถซื้อขายกันได้ที่ตลาดหุ้นแนสแดก ถ้าได้มีการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว)

และเรื่องนี้ก็ได้มีการทำหนังสือชี้แจงไปที่ตลาดหลักทรัพย์ ต้นปี 2549 โอนกลับมา แล้วขายหุ้นทั้ง 1,400 ล้านหุ้น ไม่ใช่เป็นเรื่องโกงหรือทุจริตแต่อย่างใด เพราะเป็นหุ้น (ทรัพย์สิน) ของนายกทักษิณที่มีมาก่อนเป็นนายก

 

ความเห็นที่ผิดพลาดของศาลในคดียึดทรัพย์ทักษิณ

ความเห็นศาลในคำพิพากษายึดทรัพย์ หน้า 122

การได้รับสัญญาสัมปทานอนุญาตให้ดำเนินกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้ในช่วงระยะเวลาตามที่กำหนด ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่า ต้นทุนของการดำเนินการจะลดลงเป็นลำดับตามระยะเวลาของอายุของสัญญาสัมปทานที่ได้รับ และในขณะเดียวกันย่อมเป็นผลให้ได้มาซึ่งกำไรมากขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน...........

ข้อเท็จจริง คือ การบัญชีต้นทุนจำแนกต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน (Cost Behavior) เป็น 2 รายการใหญ่คือ ต้นทุนผันแปร (Variable Costs) และ ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs)

ต้นทุนผันแปรจะเปลี่ยนแปลงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณกิจกรรม (Activity Level) เช่น ค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ จะเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้ค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้น และจะลดลงเมื่อรายได้ค่าโทรศัพท์ลดลง ต้นทุนคงที่จะยังคงเท่าเดิมในงวดเวลาและช่วงปริมาณกิจกรรมที่กำหนด (Relevant Range) เมื่องวดเวลาหรือช่วงกิจกรรมเปลี่ยนไป ต้นทุนประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลง

เช่น ยอดเงินเดือนแต่ละเดือน ในปี 2551 เท่ากับ 20 ล้านบาท ไม่ว่ารายได้ค่าโทรศัพท์ในแต่ละเดือนจะเพิ่มขึ้นหรือลงก็ตาม เงินเดือนในแต่ละเดือนก็ยังคงเท่ากับ 20 ล้านบาท และเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นในงวดเวลาถัดไป เช่น ในปี 2552 เงินเดือนเพิ่มเป็น 21 ล้านบาท

ดูของจริงเอาเองครับว่า ต้นทุนลดลงหรือไม่

 

จากตัวเลขจะเห็นได้ชัดว่าเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น และเมื่อรายได้ลดลง ต้นทุนจะลดลง ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นของศาล

ความเห็นศาลในคาพิพากษายึดทรัพย์ หน้า 151

..........และการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลงประมาณร้อยละ 11 ดังกล่าว ย่อมเป็นผลให้บริษัทชินคอร์ปได้รับเงินทุนคืนจากการโอนขายหุ้นบริษัทชินคอร์ป จำนวนดังกล่าวออกไปให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่นด้วย........

ข้อเท็จจริง คือ เดิมบริษัทชินคอร์ปฯถือหุ้นในบริษัทชินแซทฯประมาณ 52% เมื่อบริษัทชินแซทฯขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยแล้ว ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปในบริษัทชินแซทฯลดลงเหลือประมาณ 41% ไม่ได้หมายความว่า ชินคอร์ปฯขายหุ้นที่ตนเองถืออยู่ให้ผู้อื่น 11% แล้วได้รับเงินทุนคืนจากการโอนขายหุ้น แต่เป็นเรื่องของการนำหุ้นของชินคอร์ปฯออกจำหน่ายเพิ่มเติมให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่น

ยกตัวอย่างง่ายแบบนี้ครับ นาย ก. และ นาย ข. ร่วมกันลงทุนทำธุรกิจคนละ 10,000 บาท แบบนี้กล่าวได้ว่านาย ก. และ นาย ข. มีสัดส่วนในการถือหุ้นคนละ 50%

ต่อมาเงินทุนไม่พอจึงไปชวน นาย ค.มาร่วมลงทุนด้วย โดยให้นาย ค. ลงทุน 10,000 บาท เพราะฉะนั้น เงินลงทุนของธุรกิจจะมีเท่ากับ 30,000 บาท ดังนั้น สัดส่วนการถือหุ้นของนาย ก. หรือ นาย ข. จะลดลงจาก 50% เหลือ 33.3% นาย ก. หรือ นาย ข. ไม่ได้รับเงินทุนคืนแต่อย่างใด

ตัวเลขของจริงจากรายงานประจำปีของบริษัทชินแซทฯ

 

จะเห็นได้ว่าก่อนเพิ่มทุนและหลังเพิ่มทุน บริษัทชินคอร์ปฯยังถือหุ้นของบริษัทชินแซทฯในจำนวนเท่าเดิมคือ 451 ล้านหุ้น ดังนั้นการที่ศาลให้ความเห็นว่า บริษัทชินคอร์ปได้รับเงินทุนคืนจากการโอนขายหุ้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

คำพิพากษามีความยาวมากเกือบ 200 หน้า เท่าที่จำได้มีความผิดพาดอีกหลายประเด็น ยกประเด็นทางบัญชีมาเพียง 2 ประเด็นที่สามารถจะพิสูจน์ให้เห็นความผิดพลาดได้อย่างชัดเจน ไม่อาจที่จะปฏิเสธความผิดพลาดได้ (เพราะเรื่องของคณิตศาสตร์ไม่อาจจะนำเรื่องของการตีความมาใช้ได้)

ถึงเวลาหรือยังที่ประเทศไทยจะใช้ระบบลูกขุนในการพิจารณาคดีในศาลไทย

นักกฎหมายของไทยส่วนใหญ่มีความรู้ศาสตร์ด้านอื่นๆ (นอกเหนือจากกฎหมาย) ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับนักกฎหมายแถบอเมริกาหรือยุโรป ทำให้การตัดสินคดีความต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านอื่นๆมีความผิดเพี้ยนบกพร่องเกิดขึ้น

คดีความต่างๆในอดีตเป็นเป็นเรื่องพื้นๆแบบชาวบ้าน แต่เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและแผ่ขยายไปทั่วทุกมุมโลก ทำให้คดีความต่างๆมันมีเรื่องของศาสตร์อื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ เภสัช แพทย์ศาสตร์ การบัญชี และ การเงิน เป็นต้น

ผู้ตัดสินคดีความต่างๆจะต้องมีความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับคดีความนั้นด้วย ไม่ใช่พิจารณาในข้อกฎหมายอย่างเดียว การขาดความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับคดีความนั้น อาจจะทำให้การตัดสินคดีความต่างๆมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ แม้ผู้ตัดสินคดีจะมีความเที่ยงตรงหรือเที่ยงธรรมก็ตาม

 

ทักษิณแปรรูปรัฐวิสาหกิจขายชาติ ชาติจะหายนะจริงหรือ ???

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ถูกกล่าวหาว่าขายทรัพย์สมบัติของชาติ และอีกหลายๆวาทะกรรมที่ช่วยกันประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อทำลายนายกทักษิณ รัฐวิสาหกิจก็คือธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ ต่อมาต้องการให้เอกชนมาร่วมลงทุนด้วย ดังนั้นต้องไปจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท ทุนจดทะเบียนเป็นเท่าใด เช่น 1 พันล้านหุ้น ราคาตามมูลค่าหุ้นละ 10 บาท แล้วนำหุ้นออกขายให้เอกชน

จำนวนหุ้นที่นำออกขายให้เอกชนต้องน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมด เช่น ของ ปตท. กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 52% ของหุ้นทั้งหมด ส่วนอีก 48% นำออกขายให้เอกชน รัฐจะต้องถือหุ้นไว้ให้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบายการจัดการของบริษัทได้นั่นเอง เพราะว่าการโหวตในเรื่องต่างๆ เช่น เลือกกรรมการบริษัท เขานับจำนวนโหวตที่จำนวนหุ้น ไม่ได้นับตามจำนวนมือของผู้ถือหุ้นที่ยก ดังนั้น การโหวตเรื่องต่างๆรัฐบาลจะชนะทุกครั้ง

การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต นายกทักษิณถูกกล่าวหาว่า ขายชาติ จะทำให้ชาติล่มสะลาย ชาติจะเป็นแบบประเทศอาร์เจนตินา ศาลปกครองตัดสินว่าการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นการแปรรูปที่ผิด

ทักษิณเป็นนายกสมัยแรกต้นปี 2544 มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัดดังนี้ ปตท. (PTT) ปลายปี 44 , ทศท. (TOT) กลางปี 45 , กสท. (CAT) กลางปี 46 ซึ่งเป็นการแปรรูปภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสากิจ พ.. 2542 (ขณะนั้นนายชวน หลีกภัย เป็นปลัดประเทศ)

 

การแปรรูป ปตท. เป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

เริ่มเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 จำนวนหุ้นที่จดทะเบียน 2,000 ล้านหุ้น ราคาตามมูลค่า (Par Value) หุ้นละ 10 บาท รวมเป็นทุนที่จดทะเบียน 20,000 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด มูลค่าหุ้นตามบัญชี 16.82 บาทต่อหุ้น (ส่วนของผู้ถือหุ้น 33,630 ล้านบาท / 2,000 ล้านหุ้น)

ต่อมาในวันที่ 2 ตุลาคม 2544 ปตท.ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนอีก 850 ล้านหุ้น โดยนำออกจำหน่าย 797.2 ล้านหุ้น ได้รับเงินจำนวน 25,965.3 ล้านบาท (จำหน่ายให้พนักงานและกองทุนสารองเลี้ยงชีพพนักงานปตท.และบริษัทร่วมทุนจำนวน 47.2 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาท และจำหน่ายให้รายอื่นๆทั้งในและต่างประเทศจำนวน 750 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 35 บาท)

ปี 2549 ปตท.นำหุ้นออกจำหน่ายอีก 7.7 ล้านหุ้นได้รับเงินจำนวน 1,405.4 ล้านบาท

เงินที่ได้จากการจำหน่ายหุ้นถูกนำไปใช้ในการขยายกิจการของปตท. เป็นการลดภาระทางการเงินแก่รัฐ เมื่อแปรรูปแล้ว ปตท.ส่งเงินเข้าคลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


จากตัวเลขในตารางจะเห็นได้ว่า แม้ว่ากระทรวงการคลังจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงก็ตาม แต่ผลประโยชน์ที่คลังได้รับจาก ปตท.ก็เพิ่มขึ้นทุกปี

สิ้นปี 2544 จำนวนหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่ลดลง 62.2 ล้านหุ้น และปี 2547 ลดลง (จากปี 2546) จำนวน 470 ล้านหุ้น (ทักษิณขโมยไปซุกมั๊ง) ถ้าเป็นการขายหุ้นในปี 2547 เงินจะกลับเข้าคลังอย่างน้อยที่สุด 6.4 หมื่นล้านบาท (ราคาหุ้นในปี 2547 สูงสุด-ต่าสุด 192-136 บาท)

ปตท. มีสินทรัพย์ (ทรัพย์สิน) มากที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และมีมูลค่าตลาดเป็นอันดับหนึ่ง ประมาณ 5.17 แสนล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2546 (ราคาหุ้นละ 185 บาท)

 

การแปรรูป ทศท. (TOT) และ กสท. (CAT)

TOT จดทะเบียน 600 ล้านหุ้น ราคาตามมูลค่า (Par Value) หุ้นละ 10 บาท

CAT จดทะเบียน 1,000 ล้านหุ้น ราคาตามมูลค่า (Par Value) หุ้นละ 10 บาท

กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% ก็คือยังไม่ได้มีการแปรรูปอย่างแท้จริง (ยังไม่มีเอกชนเข้าร่วมลงทุนนั่นเอง)

รายได้ของทั้ง TOT และ CAT แยกออกเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นรายได้จากค่าสัมปทานโทรศัพท์มือ AIS, DTAC, True Move, DPC (จะเรียกว่าค่าต๋งก็ได้) ชนิดที่สองเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานด้วยตัวเอง (เกิดจากลาแข้งตัวเอง) ดังนั้น ทั้ง TOT และ CAT น่าจะนำเงินส่งคลังในแต่ละปีมากกว่าค่าสัมปทานที่ได้รับจากบริษัทมือถือ

 

ปี 2546 – 2551 ค่าสัมปทานที่ทั้งสองกิจการได้รับจากบริษัทมือถือรวมเป็นเงิน 1.23 แสนล้านบาท แต่ส่งเงินเข้าคลังเพียง 0.95 แสนล้านบาท ความจริงควรจะต้องส่งเงินเข้าคลังมากกว่า 1.23 แสนล้านบาทเสียด้วยซ้ำเพราะมีรายได้ประเภทอื่นด้วย

ทั้งสองกิจการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ยังมิได้แปรรูปเป็นบริษัทอย่างแท้จริงเพราะคลังยังถือหุ้นเต็ม 100% แต่ ปตท. ที่ได้มีการแปรรูปอย่างแท้จริง (คลังถือหุ้น 52%) ปี 2545 – 2549 ส่งเงินเข้าคลังสูงกว่า 1.4 แสนล้านบาท ท่านคงจะเห็นแล้ว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทำให้ชาติได้ประโยชน์หรือหายนะกันแน่???

เรื่องที่น่าแปลก ก็คือ ช่วงปี 2550 – 2551 TOT และ CAT ได้รับค่าสัมปทานเต็มจำนวน แต่เงินที่จ่ายให้คลังน้อยกว่าค่าสัมปทานที่ได้รับ แต่ถ้าดูที่ช่วงปี 2546 – 2549 ได้รับค่าสัมปทานน้อยกว่า คือ โทรศัพท์แบบเติมเงิน 10% แบบรายเดือน 15% แต่เงินที่จ่ายให้คลังบางปีมากกว่าค่าสัมปทานที่ได้รับ บางปีจ่ายให้น้อยกว่า (10% ของค่าสัมปทานที่หายไป บริษัทมือถือนำไปจ่ายเป็นภาษีสรรพสามิตให้แก่คลัง ซึ่งยุทธ์เขายายเที่ยงยกเลิกเมื่อปี 2550)

ค่าสัมปทานที่ได้รับจากบริษัทมือถือก็คือเงินที่พวกเราจ่ายให้บริษัทมือถือ น่าจะส่งเข้าคลังทั้งหมด แล้วนำไปซื้อ Notebook แจกนักเรียนที่ประถมหนึ่งทุกคนทุกปี

แต่ละปีมีเด็กเข้าเรียนประถม 1 ประมาณปีละ 1 ล้านคน ซื้อจำนวนมากๆเช่นนี้ไม่น่าจะเกินเครื่องละ 6,000 บาท ปีหนึ่งก็ 6,000 ล้านบาทซึ่งน้อยกว่าค่าสัมปทานที่ได้รับเสียอีก ถือเป็นการลงทุนที่ล้ำค่าจริงๆ ผลการดำเนินงานของ TOT และ CAT มีแต่ทรุด


 สารบัญบล็อก


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สารบัญบล็อก

PDF บัญชีขั้นต้น (เรียนบัญชีเบื้องต้นบนมือถือและแท็บเล็ต)

หนังสือบัญชีขั้นต้น