วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทักษิณโกงจริงหรือ ???

สารบัญบล็อก

เรื่องนี้ได้เริ่มเขียนครั้งแรกที่เว็บไซต์ newskythailand เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 53 ต่อมาอีก 3 วัน คือ วันที่ 19 ม.ค. 53 ได้ไปโพสท์ไว้ที่เว็บไซต์ konthaiuk ชื่อเรื่องเดียวกัน คือ จะอธิบายเรื่องการยึดทรัพย์ของนายกทักษิณให้ชาวบ้านเข้าใจได้อย่างไร??? และได้มีการปรับปรุงอีกหลายครั้ง เรื่องนี้คนในสังคมคงจะกลับมาให้ความสนใจอีกครั้งเมือนายกทักษิณมาเมืองไทย เพื่อต่อสู้คดีความต่างๆในกระบวนยุติธรรมที่เป็นปกติ

ดาวน์โหลด >> โต้ข้อกล่าวหาทักษิณอย่างย่อ (pdf 8 หน้า)
ไฟล์โต้ข้อกล่าวหาทักษิณฯ ได้มีการอัพโหลดใหม่เมื่อ 7 ก.ย. 58 เนื่องจากไฟล์เดิมมีข้อผิดพลาด กล่าวคือ ใต้ตาราง (หน้า 5) จำนวนเงิน : ล้านบาท ที่ถูกต้องคือ จำนวนเงิน : พันล้านบาท
..............................................

สิ่งที่ควรทราบเบื้องต้นก่อนอ่านรายละเอียด ลูกและญาตินายกทักษิณถือหุ้นในบริษัทชินคอร์ป 50% ที่เหลืออีก 50% ถือหุ้นโดยรายอื่นๆ
บริษัทชินคอร์ปถือหุ้นในบริษัทเอไอเอส (ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ) 43% ที่เหลืออีก 57% ถือหุ้นโดยรายอื่นๆ บริษัทชินคอร์ปถือหุ้นในบริษัทชินแซท (ธุรกิจดาวเทียมไทยคม) 51% ที่เหลืออีก 49% ถือหุ้นโดยรายอื่นๆ




คตส.ได้ตั้งข้อกล่าวหาในการยึดทรัพย์หลายข้อแยกเป็นหลายประเด็น ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
(1) ลดค่าสัมปทานให้ AIS
(2) แก้สัญญาให้รัฐต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้โครงข่ายร่วม
(3) แปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต
(4) อนุญาตโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์
(5) ให้พม่ากู้เงินรัฐบาลไทยซื้อสินค้าชินคอร์ปฯ


ข้อกล่าวหาข้อ 1 ลดค่าสัมปทานให้ AIS

ข้อกล่าวหาข้อ 1 ลดค่าสัมปทาน
ข้อมูลของคุณ Jampoon ที่โพสท์ไว้ในห้องราชดำเนิน (PANTIP) วันที่ 15 ม.ค. 53

ขอแยกข้อกล่าวหาด้านบนเป็น 5 ประด็น

อัตราค่าสัมปทานที่กำหนดขึ้นใหม่

วันที่ 1 เมษายน 2544 DTAC ได้รับการแก้ไขสัญญากับ TOT ในการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ จากเดิมที่ DTAC ต้องจ่ายให้กับ TOT เลขหมายละ 200 บาทต่อเดือนเปลี่ยนเป็นจ่ายให้กับ TOT ในอัตราร้อยละ 18 ของรายได้จากบริการโทรศัพท์ประเภทบัตรเติมเงิน

AIS จึงได้ร้องขอความเป็นธรรมจาก TOT ในหลักการเดียวกันกับ DTAC วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 AIS ได้รับการแก้ไขสัญญากับ TOT ในการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ โดย AIS ต้องจ่ายให้กับ TOT ในอัตราร้อยละ 20 ของรายได้จากบริการโทรศัพท์ประเภทบัตรเติมเงิน

DTAC จ่ายให้ TOT ในอัตราร้อยละ 18 ของรายได้
AIS จ่ายให้ TOT ในอัตราร้อยละ 20 ของรายได้

จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ข้อความในข้อกล่าวหา “บริษัท เอไอเอส มีผู้ใช้บริการในปี 49 ไม่น้อยกว่า 17 ล้านราย
จากเดิมที่มีผู้ใช้บริการในปี 42 เพียง 23,000 ราย”
คำถามก็คือ
- เอายอดปี 2542 ไปเทียบกับยอดปี 2549 ได้อยางไรเพราะท่านทักษิณเป็นนายกเมื่อปี 2544
- ทำไมไม่เอาผู้บริการรายอื่นมาเปรียบเทียบกับ AIS

เปรียบเทียบลูกค้า AIS กับ DTAC

สำหรับผู้ไม่ค่อยสันทัดเรื่องของคณิตศาสตร์ ขออธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจดังนี้
ยอดของ AIS จะเพิ่มขึ้น 14.3 ล้านราย ขณะที่ DTAC เพิ่มขึ้น 9.5 ล้านราย จะนำเอาตัวเลขทั้งสองมาเปรียบเทียบกันตรงๆแล้วบอกว่า AIS เพิ่มขึ้นมากกว่าไม่ได้ ต้องนำเอาไปเทียบกับยอดตอนปี 44 เพื่อคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์หรือจำนวนเท่า 14.3 ÷ 5.2 = 2.8 เท่า และ 9.5 ÷ 2.7 = 3.5 เท่า

ท่านทักษิณครับ ท่านเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจตัวเองอีท่าไหนเนี่ย คู่แข่งธุรกิจของท่านถึงได้มีผู้ใช้มือถือเพิ่มขึ้นมากกว่าของท่าน

ก่อนปี 2544 จำได้ไหม??
ราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องละเท่าใด?? ถ้าฐานะไม่ดีไม่มีโอกาสได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่น่าจะต่ำกว่า 50,000 บาท ค่าโทร.โทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องเสียในอัตราที่แพงมาก คนจนไม่มีสิทธิ์ได้ใช้หรอกครับ

การติดตั้งโทรศัพท์พื้นฐาน (โทรศัพท์บ้าน) หมายเลขโทรศัทพ์มีไม่พอต่อความต้องการ และราคาก็แพงมาก องค์การโทรศัพท์มันขูดเลือดซิบ ค่าโทรศัพท์ทางไกล (โทรศัพท์บ้าน) ถ้าโทรจากกรุงเทพไปเชียงรายต้องจ่ายนาทีละ 18 บาท (ถ้าจำไม่ผิด)

ปัจจุบันราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกมาก อัตราค่าโทร.ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์บ้านถูกมาก แข่งกันลดราคา แข่งการเสนอโปรโมชั่นใหม่ๆ คนรากหญ้า คนยากจน สามารถที่จะซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้ได้

ใครกันเล่า?? ที่เป็นผู้หยิบยื่นโอกาสให้ คนยากจน คนรากหญ้า คำตอบก็คือเทวดาตัวจริงเป็นผู้หยิบยื่นโอกาสให้คนยากจน

เทวดาตัวจริงก็คือ ทักษิณ ชินวัตร

คนเขารู้กันไปทั่วแล้วว่า ใครคือเทวดาตัวจริง ใครคือเทวดาตัวปลอม ต้องพูดแบบนี้แหละครับ เทวดาตัวปลอมมันจะได้กระอักเลือดตาย

อัตราการจ่ายเงินปันผล

อีกประเด็นหนึ่งที่เขียนไว้ในข้อกล่าวหา
…และมีอัตราคืนทุนที่งดงามจนประกาศจะจ่ายปันผล 40% ของกำไรสะสมได้ทุกปี (ทีถูกน่าจะเป็น 40% ของกำไรสุทธิ)

AIS จะจ่าย 40% ของกำไรสุทธิไม่เห็นจะแปลกตรงไหน เพราะเป็นเรื่องของ นโยบายด้านเงินปันผลที่กำหนดไว้ เมื่อจ่ายจริงอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ จ่าย 40% ต้องชิดซ้ายไปเลย บางบริษัทจ่ายสูงเกินกว่า 60% ก็มี เช่น ปูนซิเมนต์ไทย อัตราจ่ายเงินปันผลปี 46 – 49 : 36.1% , 49.3% , 55.8% , 61.2%
(ข้อมูลนำมาจากรายงานประจำปี 2550 ของ บ.ปูนซิเมนต์ไทย)

คู่แข่งขันแทบจะไม่มีกำไร

อีกประเด็นหนึ่งที่เขียนไว้ในข้อกล่าวหา
…..ส่วนอีกสองบริษัทก็พยายามดิ้นรนแข่งขันจนถึงระดับที่แทบจะไม่มีกำไร….

กำไรของบริษัท DTAC ปี 44-49

รายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ข้อความบางส่วนในข้อกล่าวหาข้อกล่าวหาเรื่องลดค่าสัมปทาน เป็นดังนี้
บริษัท เอไอเอส นั้น ก็พบว่ามีรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

การลดค่าสัมปทานมีผลให้ทุกค่ายมือถือได้รับประโยชน์เมือนกันหมด ดังนั้นผมจะใช้ข้อมูลรายได้ของ AIS และ DTAC มาเปรียบเทียบกันเพื่อดูว่าระหว่าง AIS และ DTAC ใครได้รับประโยชน์มากกว่ากัน
(สำหรับผู้ไม่สันทัดในเรื่องของตัวเลข ข้อมูลด้านล่างดูผ่านๆก็พอ)

เปรียบเทียบรายได้ AIS กับ DTAC
อธิบายเพิ่มเติมสำหรับผู้ไม่สันทัดในเรื่องของตัวเลข 74.9 พันล้านบาท ก็คือ 74,900 ล้านบาท

ทั้งสองบริษัทรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีเมื่อเทียบกับปีก่อน ยกเว้นของ AIS ปี 48 ลดลงเมื่อเทียบกับปี 47 จะรู้ได้อย่างไรว่า AIS หรือ DTAC รายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า ก็ใช้วิธีเดียวกันกับการเปรียบเทียบยอดผู้ใช้มือถือที่ผ่านมานั่นแหละครับ มีการเปรียบเทียบได้สองแบบคือ ปีต่อปี และ ปีแรกกับปีสุดท้าย (ปี 48 กับ ปี 44)
การเปรียบเทียบแบบปีต่อปี ปี 48 เพิ่มขึ้นจากปี 47 กี่เปอร์เซ็นต์ ไล่ย้อนไปเรื่อยๆ แต่ละบริษัทก็จะได้ยอดเปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้น 4 ยอด แล้วก็นำเอามาหาค่าเฉลี่ย ขอยกตารางรายได้ของ AIS and DTAC มาแสดงอีกครั้ง

เปรียบเทียบรายได้ AIS กับ DTAC

อธิบายสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องตัวเลข รายได้ของ DTAC ปี 48 เพิ่มขึ้นจากปี 47 เท่ากับ 4.2 (42.0 – 37.8) คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ >> 4.2 ÷ 37.8 x 100 = 11.1% ปี 47 vs ปี 46 ; ปี 46 vs ปี 45 ; ปี 45 vs ปี 44 คิดแบบเดียวกัน ดูผลลัพธ์ตามตารางด้านล่าง

เปรียบเทียบอัตราการเพิ่มขี้นของรายได้ปีต่อปี AIS vs DTAC

ถึงตรงนี้อยากให้ท่านเก็บตัวเลข 38.8% (ปี 45 vs ปี 44 ของ AIS) ไว้ในใจหน่อย แล้วอีกสัก 15 นาทีค่อยหยิบออกมาจากใจ มีเรื่องคุยเยอะตรงนี้

ถ้ามองในภาพรวม (ปี 2544 – 2548) รายได้แต่ละบริษัทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกี่เปอร์เซนต์ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ใช้ค่าเฉลี่ย นั่นก็คือ รวม 4 ยอด แล้วหารด้วย 4 รายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน : AIS 18.6% , DTAC 17.7% (นอกจากใช้ค่าเฉลี่ยแล้ว ยังมีวิธีอื่นอีกคือ ใช้ค่ามัธยฐาน และ ใช้หลักวิชาการเงินมาประยุกต์ใช้)
อันนี้เป็นการเปรียบเทียบปีต่อปีแล้วหาค่าเฉลี่ยเพื่อตอบคำถามว่าของใครเพิ่มขึ้นมากกว่า

ถ้าใช้วิธีเปรียบเทียบรายได้ปีแรก (ปี 44) กับ ปีสุดท้าย (ปี 48)
- AIS เพิ่มขึ้น = 74.9 – 39.2 = 35.7 พันล้านบาท คิดเป็น % >> 35.7 ÷ 39.2 x 100 = 91.1%
- DTAC เพิ่มขึ้น = 42.0 – 22.0 = 20.0 พันล้านบาท คิดเป็น % >> 20.0 ÷ 22.0 x 100 = 90.9% (ถือว่าเป็นการฟื้นฟูความรู้วิชาคณิตศาสตร์ก็แล้วกันสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องตัวเลข)

เปรียบเทียบอัตราการเพิ่มขี้นของรายได้ปี 44 กับปี 48 AIS vs DTAC

อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ของ AIS มากกว่า DTAC เล็กน้อย ไม่ได้เกิดจากการเอื้อประโยชน์ของท่านทักษิณอย่างแน่นอน แต่เกิดจากคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์ ของ AIS ดีกว่าของ DTAC ข้อเท็จจริงอันนี้เชื่อว่าทุกคนที่ใช้มือถือในช่วงปี 44 – 48 รู้เป็นอย่างดี

ถ้าเปรียบเทียบเปอร์เชนต์รายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเที่ยงธรรมจริงๆแล้ว ของ AIS จะต้องน้อยกว่าตัวเลขที่ปรากฏในตาราง ผมเชื่อว่า เปอร์เซนต์รายได้ที่เพิ่มขึ้นของ AIS น่าจะน้อยกว่าของ DTAC ด้วย พอผมพูดแบบนี้หลายคนคงงง ตรงนี้อาจจะทำความเข้าใจยากสักหน่อย ขอพาย้อนกลับไปที่ตารางรายได้กันอีกที

เปรียบเทียบรายได้ AIS กับ DTAC

DTAC วันที่ 1 เม.ย. ปี 44 ได้รับการแก้ไขสัญญาจ่ายค่าสัมปทาน 18% AIS วันที่ 15 พ.ย. ปี 44 ได้รับการแก้ไขสัญญาลดค่าสัมปทานเหลือ 20% เมื่อได้รับการลดอัตราค่าสัมปทาน ทั้ง 2 ค่ายก็จะลดราคาค่าโทรมือถือ ลูกค้าก็จะเพิ่มขึ้นเพราะว่าค่าโทรมันถูกลง ทั้ง 2 ค่ายรายได้ก็จะเพิ่มขึ้น

คำถามก็คือ ถ้า AIS ได้รับการแก้ไขสัญญาในวันเดียวกันกับ DTAC (1 เม.ย. ปี 44)
AIS จะมีรายได้ในปี 44 มากกว่า 39.2 พันล้านบาทหรือไม่ เชื่อว่าทุกคนต้องตอบเหมือนผมคือ มากกว่า 39.2 พันล้านบาทอย่างแน่นอน เอาเป็นว่าถ้าเพิ่มขึ้นอีก 1 พันล้านบาทเป็น 40.2 พันล้านบาท เพราะฉะนั้นรายได้ของ AIS เพิ่มขึ้น (ปี 48 เทียบกับปี 44) 86.3% (DTAC 90.9%) และถ้าใช้วิธีเทียบปีต่อปีแล้วหาค่าเฉลี่ยจะได้เท่ากับ 17.7% (DTAC 17.7%)

ตัวเลขที่ให้ท่านเก็บไว้ในใจเมื่อสักครู่นี้ ก็คือ รายได้ของ AIS เพิ่มขึ้น (ปี 45 vs ปี 44) 38.8% แต่ถ้ารายได้ในปี 44 เพิ่มขึ้นอีก 1 พันล้านบาท จากตัวเลข 38.8% ก็จะลดเหลือ 35.3%

ข้อมูลลักษณะนี้แหละศาสดาเต็กซ์ลิ้มหรือนักวิชาการชั่วทั้งหลาย จะนำไปใส่ร้ายท่านนายกทักษิณว่า เอื้อประโยชน์ให้บริษัทของตนเอง โดยเอาการเปรียบเทียบ ปี 45 vs ปี 44 มาใช้เป็นหลักฐานในการกล่าวหานายกทักษิณ

AIS เพิ่มขึ้น 38.8% ในขณะที่ DTAC เพิ่มขึ้นเพียง 14.5%

ถามว่าศาสดาเต็กซ์ลิ้มหรือนักวิชาการชั่วทั้งหลายบิดเบือนข้อมูลหรือไม่
คำตอบก็คือ เป็นข้อมูลจริง แต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตามหลักการที่นักบัญชียึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติ ที่เรียกว่า หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ (Full Disclosure Principle)

ลดค่าสัมปทาน ใครได้รับประโยชน์

การลดค่าสัมปทานให้ AIS จาก 25% เหลือ 20% มีเงื่อนไขที่ทีโอทีกำหนดไว้คือ AIS จะต้องลดค่าโทรลง (เมื่อเทียบกับปี 44) ดังนี้ ปี 44 – ปี 48 ต้องลดลงไม่น้อยกว่า 5% และจากปี 49 – ปี 58 ต้องลดลงไม่น้อยกว่า 10%

ก่อนการได้รับการลดค่าสัมปทาน (15 พ.ย. 44) อัตราค่าโทรมือถือ ของค่าย AIS อยู่ที่ 6 – 12 บาทต่อนาที (ระบุอยู่ในรายงานประจำปี) สมมติว่าราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 9 บาทต่อนาทีก็แล้วกัน เพราะฉะนั้น ค่าโทรในปี 45 – 48 จะต้องไม่เกินนาทีละ 8.55 (9 บาท x 95%) และค่าโทรในปี 49 – 58 จะต้องไม่เกินนาทีละ 8.10 (9 บาท x 90%)

ผมเชื่อมั่นว่า AIS ลดค่าโทรมากกว่าที่ทีโอทีกำหนดไว้เสียอีก เมื่อค่าโทรมือถือถูกลง ประชาชนจะใช้มือถือมากขึ้น บริษัทมือถือจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ทีโอทีก็จะได้รับค่าสัมปทานเพิ่มขึ้น กระทรวงการคลังก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น

ดังนั้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการลดค่าสัมปทาน ก็คือ ประชาชนผู้ใช้มือถือ บริษัทมือถือ และรัฐ

มาดูกันต่อว่าเมื่อทีโอทีลดค่าสัมปทานให้ AIS แล้ว ผลประโยชน์ที่รัฐได้รับจะลดลงหรือไม่

ผลประโยชน์รายปีที่ AIS จ่ายให้รัฐ

ดูด้วยสายตาผ่านๆก็เห็นได้ว่า รัฐได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 44 ถ้าอยากจะรู้ว่าได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นจากปี 44 (ปีที่ลดค่าสัมปทาน) รวมเป็นเงินเท่าใด ก็ทำได้โดยเอาตัวเลขผลประโยชน์ในปี 44 ไปหักจากปีถัดๆไป ซึ่งได้ผลดังตตารางด้านล่าง

ผลประโยชน์ที่ AIS จ่ายให้รัฐเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 44
สรุป หลังลดค่าสัมปทาน รัฐได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น 52.7 พันล้านบาท (52,700 ล้านบาท)

รัฐเสียหายเป็นหมื่นๆล้าน (ถ้าไม่เลวจริงๆคิดแบบนี้ไม่ได้หรอก)

ข้อความในข้อกล่าวหาสรุปได้ดังนี้
การลดค่าสัมปทานทำให้ทีโอทีขาดรายได้ที่พึงได้รับจนถึงปัจจุบัน (เดือนกันยายน ปี 49) เป็นเงินจำนวน 14,213.75 ล้านบาท และประมาณว่าจะเพิ่มเป็น 70,872.03 ล้านบาท เมื่อครบอายุสัมปทาน

ไม่น่าเชื่อครับว่า คตส.มันจะเอาค่าสัมปทานที่ทีโอทีลดลงให้แก่ AIS มาคำนวณเป็นความเสียหายต่อรัฐ
ทั้งๆที่การลดค่าสัมปทานมันให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่ายดังที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว คือ ประชาชนผู้ใช้มือถือ บริษัทมือถือ และรัฐ ตัวเลขค่าความเสียหายที่พวกมันคิดออกมานั้น ผมไม่รู้รายละเอียดวิธีคิดของพวกมัน แต่ก็ได้สันนิษฐานว่า น่าจะนำเอารายได้แบบเติมเงินของ AIS คูณด้วย อัตราค่าสัมปทานที่ลดลง

- อัตราค่าสัมปทานที่ AIS ต้องจ่าย ปี 45 – 48 : อัตราเดิม 25% ลดลง 5%
- อัตราค่าสัมปทานที่ AIS ต้องจ่าย ปี 49 – 58 : อัตราเดิม 30% ลดลง 10%

เสียหาย 7 หมื่นล้าน

จุดประสงค์ที่นำเอาวิธีการคำนวณความเสียหายมาแสดงให้ดู เพื่อให้รู้ว่ามันมีคนที่มีความคิดเพี้ยนแบบนี้ด้วยโว๊ย ขอตั้งข้อสังเกตแบบนี้ก็แล้วกัน ถ้าไม่มีการลดค่าสัมปทาน ก็จะไม่มีการลดราคาค่าโทร จำนวนผู้ใช้มือถือก็จะไม่เพิ่มขึ้น รายได้ของ AIS ก็จะต้องน้อยกว่าที่แสดงอยู่ในตาราง แต่มรึงก็ยังคิดค่าเสียหายจากรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในตอนนั้น Goo ว่าพวกมรึงนี่เสียสติไปแล้วจริงๆ

ยอดรวมค่าเสียหายปี 45 – 49 (ผลบวกของ 5 ยอด) 13,672 ล้านบาท ยอดที่คตส.ประมาณ 14,214 ล้านบาท และ ยอดที่ดร.สมเกียรติ ณ DTRI ประมาณ 13,420 ล้านบาท

คตส.มันบอกต่ออีกว่าความเสียหายจะเพิ่มเป็น 70,872 ล้านบาทเมื่อครบอายุสัญญาสัมปทาน ดร.สมเกียรติ ณ DTRI บอกว่าจะเพิ่มเป็น 85,000 ล้านบาท (ดร.สมเกียรติเป็นพยานคนสำคัญที่ศาลให้ความเชื่อถือมากที่สุด)

ค่าเสียหายที่จะเพิ่มขึ้นในความหมายของพวกมันก็คือตั้งแต่ปี 50 – 58 ผมไม่รู้รายละเอียดว่าพวกมันใช้วิธีการคำนวณอย่างไร ก็ได้แต่สันนิษฐานเอา ก็คือ ใช้วิธีพยากรณ์รายได้ตั้งแต่ปี 50 – 58 ว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตรากี่เปอร์เซ็นต์ คงใช้ตัวเลขของปี 49 เป็นฐานในการประมาณ

มาเรียนรู้เรื่องนี้กันสักหน่อย จะพยายามอธิบายแบบง่ายๆ ตอนก่อนที่จะตัดสินคดีผมได้ลองประมาณไว้เหมือนกัน โดยประมาณว่ารายได้เพิ่มขึ้นปีละ 4.5%

ฉะนั้นรายได้ของ AIS ในปี 50 จะเท่ากับ รายได้ปี 49 คูณด้วย 104.5% ก็คือ 50,448 ล้านบาท คูณด้วย 104.5% จะได้รายได้ของปี 50 เท่ากับ 52,718 ล้านบาท รายได้ของปี 51 ก็คำนวณได้โดยเอา 104.5% ไปคูณ รายได้ปี 50 (52,718 ล้านบาท) ไล่ไปแบบนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งได้รายได้ปี 58

เสียหาย 7 หมื่นล้าน - 2

รวมยอดค่าเสียหายตั้งแต่ปี 50 – 58 จะได้เท่ากับ 56,947 ล้านบาท ยอดค่าเสียหายปี 45 – 49 ที่ผมประมาณไว้ 13,672 ล้านบาท รวมทั้งหมด 70,619 ล้านบาท (ของคตส.และดร.สมเกียรติ 70,872 และ 85,000 ล้านบาท)

แม้ว่าตัวเลขที่ผมประมาณจะใกล้เคียงกับของคตส.ก็ตาม แต่เชื่อว่าตัวเลขรายได้ปี 50 – 58 ที่พวกคตส.เสียสติมันประมาณนั้นสูงกว่าของผมมาก (คิดเพิ่มขึ้นมากกว่า 4.5%) แล้วมันก็ใช้วิธีแปลงเป็นค่าปัจจุบัน (Present Value) ผมขอไม่อธิบายตรงนี้เพราะซับซ้อน

ผมคิดว่าพวกเสียสติเหล่านี้มันคิดมุขเรื่องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับทีโอทีก็เพื่อ โน้มน้าวให้ผู้คนในสังคมเกิดความชิงชังท่านทักษิณ โน้มน้าวจิตใจผู้พิพากษา ท่านทักษิณขายหุ้นได้ 76,000 ล้าน ทำให้รัฐเสียหาย 85,000 ล้าน แม่งบ้าชัดๆ

พวกชนชั้นกลางที่ดัดจริตและโง่ดักดานทั้งหลาย ก็รับมุขไอ้ดร.ชั่วช้าคนนี้ เอาตัวเลข 85,000 ล้าน ไปขยายต่อกันอย่างสนุกสนาน เกิดชาติหน้าคงหนี้ไม่พ้นคนปัญญาอ่อน

เรื่องการคิดความเสียหายในกรณีนี้ ผมจำได้ว่าผู้บริหารของ AIS คนหนึ่งได้ออกมาโต้ว่า ถ้าใช้วิธีคิดความเสียหายแบบนี้ บริษัท AIS ก็คิดได้เหมือนกันว่าเกิดความเสียหายเป็นแสนๆล้าน อันเนื่องมาจากการลดราคาให้ผู้ใช้ตามข้อกำหนดของทีโอที

ผมลืมให้ข้อมูลไปเรื่องหนึ่งคือเรื่องส่วนแบ่งรายได้ที่ DTAC ต้องจ่ายใหรัฐ เดี๋ยวจะหาว่าผมละเลยหลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ก็คือ DTAC จ่ายค่าสัมปทานให้ กสท.(CAT) ผมจำไม่ได้ว่ากี่เปอร์เชนต์
ส่วน18% ที่จ่ายให้ทีโอทีนั้นเป็นค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (access charge) ผมเคยเข้าไปคุยเรื่องนี้ที่ห้องสินธรพันทิปเหมือนกัน แต่ไม่มีใครให้ความกระจ่างได้ว่า ทำไม DTAC จึงไม่ขอสัมปทานกับทีโอที แต่กลับไปขอจาก กสท.

บริษัทคู่แข่งถูกเอาเปรียบจนต้องขายกิจการ

ข้อความในข้อกล่าวหาสรุปได้ดังนี้
บริษัทคู่แข่งในค่าย กสท. 1 รายคือบริษัท ดีพีซี ถูกเอาเปรียบ จนทำให้ไม่เติบโตต้องขายบริษัทให้แก่ AIS

คตส.เอ๊ย พวกมรึงนี่โคตรเพี้ยนจริงๆว่ะ สองบริษัทเขาเป็นเครือญาติกันโว๊ย

พูดแบบชาวบ้านๆ ดีพีซี (ดิจิตอลโฟน) มันเป็นบริษัทหลานของบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น (ชินคอร์ป) มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 10 กันยายน พ. ศ. 2544 แล้ว AIS เป็นอะไรกับบริษัท ชินคอร์ป ล่ะ AIS มันก็เป็นบริษัทลูกของบริษัท ชินคอร์ป ต่อมา ดีพีซี ซึ่งเป็นบริษัทหลานของบริษัทชินคอร์ป ก็กลายมาเป็นบริษัทหลานของ AIS

รายละเอียดเรื่องนี้มาจากหมายเหตุประกอบงบการเงินของ AIS
ณ วันที่ 10 กันยายน พ. ศ. 2544 บริษัทได้เข้าไปลงทุนในบริษัท ชิน ดิจิตอล จำกัด (“SDT”) โดยการซื้อหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นเดิม ได้แก่ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“SHIN”) และ SingTel Strategic Investments Pte Ltd. (“SingTel”) จำนวน 69,993 หุ้น และ จำนวน 30,000 หุ้น ตามลำดับ รวมทั้งสิ้นจำนวน 99,993 หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 99.99 ในราคาหุ้นละ 5,400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 540 ล้านบาทภายหลังจาก SDT ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญบริษัท ดิจิตอล-โฟน จำกัด (“DPC”) จำนวน 431 ล้านหุ้นจาก Telekom Malaysia Group เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2544 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,888 ล้านบาท SDT ได้จ่ายชำระค่าหุ้นดังกล่าวทั้งจำนวนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลให้ SDT เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในอัตรา ร้อยละ 97.54 ใน DPC การซื้อหุ้น SDT จาก SHIN และ SingTel อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า บริษัทจะต้องให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ SDT เพื่อการชำระคืนเงินกู้แก่ SHIN และ SingTel ให้แล้วเสร็จ

ขอขยายความเพิ่มเติมเผื่อบางท่านอ่านแล้วอาจจะงง ก่อนวันที่ 10 กันยายน พ. ศ. 2544 บริษัท ชิน ดิจิตอล จำกัด (“SDT”) ถือหุ้นในบริษัท ดีพีซี (ดิจิตอล-โฟน “SDT”) ประมาณ 98% (บริษัท ดีพีซี เป็นบริษัทลูกของ บริษัท ชิน ดิจิตอล จำกัด “SDT”) บริษัท ชินคอร์ป ถือหุ้นในบริษัท ชิน ดิจิตอล ประมาณ 70% (ส่วนผู้ถือหุ้นในบริษัท ชิน ดิจิตอล อีกประมาณ 30% คือ SingTel)

วันที่ 10 กันยายน พ. ศ. 2544 AIS ได้ซื้อหุ้นบริษัท ชิน ดิจิตอล จำกัด ทั้งหมดจากบริษัท ชินคอร์ป และ SingTel มาถึงตรงนี้บริษัท ชิน ดิจิตอล จำกัด ก็จึงกลายเป็นบริษัทลูกของ AIS ดังนั้น บริษัทดีพีซีจึงกลายมาเป็นบริษัทหลานของ AIS ด้วยประการฉะนี้

ข้อมูลสำหรับท่านยังไม่ค่อยรู้รายละเอียดเรื่องการถือหุ้น นายกทักษิณไม่ได้ถือหุ้นโดยตรงใน AIS แต่ท่านเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของชินคอร์ป (50%) และ ชินคอร์ป ถือหุ้นใน AIS 43% , ชินแซทฯ 51% และอีกหลายบริษัท (ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2547) ถ้าถามว่า ท่านนายกทักษิณถือหุ้นใน AIS กี่เปอร์เซ็นต์ คำตอบก็คือ 21.5% (43% x 50%) เป็นการถือหุ้นทางอ้อม


ข้อกล่าวหาข้อ 3 แปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต
(ขอพูดเรื่องข้อกล่าวหาข้อ 3 ก่อนเพราะมีความเกี่ยวพันกับข้อ 1)

ข้อกล่าวหาข้อ 3 แปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต
ข้อมูลที่คุณ Jampoonโพสท์ในห้องราชดำเนิน (PANTIP) วันที่ 15 ม.ค. 53

ผมขอแยกออกเป็น 2 ประเด็น
1. AIS ยึดครองตลาดธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศได้โดยเด็ดขาดแต่ผู้เดียว
2, ผู้ประกอบการรายใหม่ก็พบกำแพงภาษีสรรพสามิต 10% มาขวางกั้น

AIS ยึดครองตลาดธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศได้โดยเด็ดขาดแต่ผู้เดียว

ข้อเท็จจริง (จากรายงานประจำปี 2549 ของ AIS)

ส่วนแบ่งการตลาดโทรศัพท์มือถือ
แบบบี้เขาเรียกว่ายึดครองตลาดแต่ผู้เดียวหรือวะ เชิญท่านทั้งหลายหาความสำราญกับ คตส.ได้เต็มที่เลยครับ

ผู้ประกอบการรายใหม่ก็พบกำแพงภาษีสรรพสามิต 10% มาขวางกั้น

ก็ในเมื่อบริษัทมือถือรายเก่าก็ยังต้องจ่าย 10% รายใหม่ก็ต้องจ่าย 10% เหมือนกัน แล้วมันจะเป็นการกีดกันรายใหม่ได้อย่างไงวะ ไม่เข้าใจจริงๆ ได้ดู อ.วรเจตน์ โต้กับ สมเกียรติ ณ TDRI ในเรื่องนี้ทางทีวี TPS
สมเกียรติโว๊ย !! Goo พยายามตั้งใจฟังมึงอธิบาย มึงพูดห่าอะไรก็ไม่รู้ อ้อมไปอ้อมมา ฟังไม่รู้เรื่องเลยว่ะ แต่ศาลฟังมึงรู้เรื่องโว๊ย !!! Goo โง่หรือไงวะเนี่ย

ไปดูกันว่าแปลงค่าสัมปทาน ใครได้ประโยชน์ใครเสียประโยชน์ ??? ขอลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องก่อน
ปี 2544 มีการแก้ไขสัญญาเพื่อลดค่าสัมปทาน โดย DTAC ต้องจ่าย (ให้แก่ กสท.) ในอัตราร้อยละ 18 ของรายได้ ส่วน AIS ต้องจ่าย (ให้แก่ ทศท.) ในอัตราร้อยละ 20 ของรายได้
ปี 2545 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท) แปลงสภาพเป็นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

เมื่อ ทศท แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนแล้ว และยังคงได้รับค่าสัมปทาน (ส่วนแบ่งรายได้) จากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อไป ผลการดำเนินงานของทีโอที (ทศท) ที่รายงานออกมา จะเป็นเสมือนภาพลวงตา (แม้ว่าการดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีกำไรมาก) โดยที่ส่วนหนึ่งของกำไรมาจากรายได้ค่าสัมปทานที่ได้รับ เป็นรายได้ที่ไม่มีต้นทุนเกิดขึ้นเลย (พูดภาษาชาวบ้านง่ายๆว่า “ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย นอนอยู่เฉยๆก็ได้รับเงิน”)

แล้วทีโอทีก็นำเงินค่าสัมปทานที่ได้รับมาเป็นเงินทุนในการทำธุรกิจแข่งขันกับ บริษัทอื่นๆที่ทำธุรกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมเหมือนกับตน ทีโอทีไม่ควรเป็นผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอีกต่อไป ควรเป็นผู้ประกอบการเพียงอย่างเดียว

รัฐบาลของท่านนายกทักษิณจึงได้ออก พรก แก้ไขเพิ่มเติม พรบ พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยให้เก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรศัพท์เคลื่อน 10% ของรายได้ และให้นำเอาภาษีสรรพสามิตไปหักจากค่าสัมปทานที่ค่ายมือถือต่างๆต้องจ่ายให้กับ ทีโอที หรือ กสท

พูดง่ายๆก็คือ เดิมค่ายมือถือต่างๆจ่ายค่าสัมปทานทั้งหมดให้กับ ทีโอที หรือ กสท เปลี่ยนเป็น แบ่งค่าสัมปทานออกเป็น 2 ก้อน (ยอดแต่ละก้อนไม่ต่างกันมากนัก) ก้อนหนึ่งให้กับ ทีโอที หรือ กสท อีกก้อนหนึ่งจ่ายให้กรมสรรพสามิต ก้อนที่จ่ายให้กรมสรรพสามิตต้องจ่ายเป็นรายเดือน ส่วนที่จ่ายให้ ทีโอที หรือ กสท. จ่ายสิ้นปีเหมือนเดิม

เพื่อให้ทำความเข้าใจง่ายขึ้น ขอยกตัวอย่างแบบนี้ก็แล้วกัน ค่าสัมปทานสำหรับมือถือแบบเติมเงินต้องจ่ายคิดเป็นเงิน 240 ล้านบาท (20% ของรายได้)
ก่อนแก้กฎหมาย จ่ายให้แก่ ทีโอที หรือ กสท. ตอนสิ้นปี 240 ล้านบาท
หลังแก้กฎหมายจ่ายให้สรรพสามิตเดือนละ 10 ล้านบาท (รวมทั้งปี 120 ล้านบาท) สิ้นปีจ่ายให้ ทีโอที หรือ กสท. อีก 120 ล้านบาท รวมจ่ายทั้งหมด 240 ล้านบาทเช่นเดิม

สำหรับมือถือแบบรายเดือนซึ่งต้องจ่ายค่าสัมปทานในอัตรา 25% ของรายได้ 10% ให้ค่ายมือถือจ่ายให้สรรพสามิตเป็นรายเดือน ส่วนที่เหลืออีก 15% นั้น จ่ายให้ ทีโอที หรือ กสท. ตอนสิ้นปี

ไม่ว่าจะแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตหรือไม่ก็ตาม ค่ายมือถือต่างๆยังคงต้องจ่ายค่าสัมปทานเท่าเดิม

ผู้ที่เสียประโยชน์จากการแปลงค่าสัมปทานก็คือ ทีโอที และ กสท ที่เป็นปลิงดูดเลือดคนไทยมานาน ดูดเลือดได้น้อยลง

สำหรับความเห็นของผม น่าจะแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตทั้งร้อยเปอร์เซนต์ คือไม่ต้องจ่ายให้กับทีโอทีและกสท.เลย แต่นำไปจ่ายเป็นภาษีสรรพสามิตแทน ซึ่งรัฐบาลสามารถนำรายได้ (ภาษี) ส่วนนี้ไปใช้จ่ายได้ทุกเดือน เฉพาะของ AIS บริษัทเดียว กรมสรรพสามิตจะได้รับประมาณเดือนละไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท

เพราะตั้งแต่ปี 2546 – 2551 AIS จ่ายผลตอบแทนรายปี (ค่าสัมปทาน) ให้แก่ ทีโอที และ กสท และภาษีสรรพสามิตรวมเป็นเงินทั้งสิ้น กว่าหนึ่งแสนล้านบาท (ไม่รวมภาษีเงินได้นิติบุคคล) เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งรัฐบาลขิงแก่ได้ยกเลิกภาษีสรรพสามิตส่วนนี้ไปแล้ว ภาษีที่กรมสรรพสามิตเคยได้รับจาก AIS ประมาณเดือนละ 700 ล้านบาท ได้กลับไปเข้าที่ ทีโอที และ กสท เช่นเดิม รัฐบาลขิงแก่ชอบเลี้ยงปลิงดูดเลือด

ไปดูกันว่า ทีโอที (TOT) และ กสท. (CAT) ส่งเงินกลับเข้าคลัง มากน้อยแค่ไหน

รายได้ของโอที และ กสท แยกออกได้เป็น 2 ส่วน คือ รายได้ค่าสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ รายได้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจด้วยตัวเอง เงินค่าสัมปทานที่ทีโอทีและกสท.ได้รับนั้น ไม่ได้จ่ายกลับคืนมาให้กระทรวงการคลังทั้งหมด ดูจากตารางด้านล่าง

เปรียบเทียบค่าสัมปทานที่ TOT และ CAT ได้รับ กับ เงินที่ส่งกลับเข้าคลัง
สรุปทั้ง TOT and CAT รับค่าสัมปทานรวม 122,600 ล้านบาท ( 76.7 + 45.9 ) จ่ายให้คลัง 94,600 ล้านบาท (57.7 + 36.9) น้อยกว่าที่ได้รับ 28,000 ล้านบาท ( 19.0 + 9.0 )

ข้อสังเกตุ ช่วงปี 2550 – 2551 TOT และ CAT ได้รับค่าสัมปทานเต็มจำนวน (แบบเติมเงิน 20% แบบรายเดือน 25%)  แต่เงินที่จ่ายให้คลังน้อยกว่าค่าสัมปทานที่ได้รับ แต่ถ้าดูที่ช่วงปี 2546 – 2549 ปลิงสองตัวได้รับค่าสัมปทานน้อยกว่า (แบบเติมเงินเหลือ 10% และแบบรายเดือนเหลือ 15%) แต่เงินที่จ่ายให้คลังบางปีมากกว่าค่าสัมปทานที่ได้รับ บางปีจ่ายให้น้อยกว่านิดหน่อย (10% ของค่าสัมปทานที่หายไป บริษัทมือถือนำไปจ่ายเป็นภาษีสรรพสามิตให้แก่คลัง ซึ่งยุทธ์เขายายเที่ยงมันยกเลิกเมื่อปี 2550)

เรื่องน่ารู้ในปี 2551 เกี่ยวกับปลิงดูดเลือดทั้งสองตัว

TOT เรียกร้องต่ออนุญาโตตุลาการให้ AIS ชำระเงินส่วนแบ่งรายได้ (ค่าสัมปทาน) เพิ่มเติมอีกจำนวน 31,463 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือนนับตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2550 อันเป็นวันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น

CAT (กสท) เรียกร้องให้ DTAC ชำระเงินส่วนแบ่งรายได้ (ค่าสัมปทาน) เพิ่มเติมอีกจำนวน 16,887 ล้านบาทพร้อมทั้งเบี้ยปรับ รวมเป็นเงินทั้งหมดประมาณ 21,982 ล้านบาท

โดยอ้างว่า AIS และ DTAC ชำระค่าสัมปทานไม่ครบถ้วน ซึ่งจำนวนเงินที่เรียกร้องให้ AIS และ DTAC ชำระเพิ่ม (31,463 ล้านบาท และ 16,887 ล้านบาท) ก็คือ จำนวนเดียวกันกับภาษีสรรพสามิตที่ได้จ่ายไปแล้วเมื่อปี 2546 – 2549 (ข้อมูลจากหมายเหตุประกอบงบการเงินของ AIS และ DTAC)

ดูดเลือดเก่งจริงๆ ถ้าเป็นแบบนี้ ต่อไปใครเค้าจะกล้ามาลงทุนในประเทศของเรา อะไรจะเกิดขึ้นถ้าปลิงทั้งสองตัวไม่ได้รับค่าสัมปทาน ดูจากตารางเองครับ

ผลการดำเนินงานของ TOT and CAT เมื่อไม่มีรายได้ค่าสัมปทาน
หมายเหตุ ปี 50 – 51 TOT and CAT ได้รับค่าสัมปทานเต็มจำนวน ( 20% และ 25% ) ส่วนปี 46 – 49 ได้รับไม่เต็มจำนวน (รับ 10% และ 15%)


ข้อกล่าวหาข้อ 2 แก้สัญญาให้รัฐต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้โครงข่ายร่วม

ข้อกล่าวหาข้อ 2 Roaming
ข้อมูลที่คุณ Jampoonโพสท์ในห้องราชดำเนิน (PANTIP) วันที่ 15 ม.ค. 53

สำหรับข้อกล่าวหาข้อนี้ ผมไม่สามารถวิเคราะห์ในมุมมองทางบัญชีได้ เนื่องจากมีข้อสงสัยหลายประเด็น จึงได้เรียบเรียงข้อมูลจาก https://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais ซึ่งจัดทำโดยผู้ที่ใช้ชื่อว่า คนไทยเพื่อคนไทย Thai4Thai (ปัจจุบันคือ ThaiInter แห่งประชาทอล์ค)

เรื่องนี้ไม่ได้แก้ไข แต่เป็นการเพิ่มเติมส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT ทั้งนี้สืบเนื่องจาก TOT ไม่สามารถติดตั้งขยายระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) ได้ทันต่อการขยายสถานี (Base Station) เพื่อบริการแก่ประชาชนผู้ใช้บริการของ AIS ได้ทัน AIS จึงได้ขออนุญาตลงทุนขยายระบบสื่อสัญญาณในส่วนที่ TOT ไม่สามารถจัดสร้างได้ทัน และยกให้เป็นทรัพย์สินของ TOT ในทันทีที่เปิดใช้บริการซึ่งเป็นไปตามสัญญาร่วมงานแบบสร้าง-โอน-ดำเนินงาน (BTO: Build-Transfer-Operate) โดยที่ AIS มีสิทธิใช้ระบบสื่อสัญญาณจนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน

ต่อมาปรากฏว่ามีส่วนที่เหลือใช้ซึ่ง TOT และ AIS มีความเห็นตรงกันว่า ควรจะให้ประชาชน หน่วยงานอื่นๆ หรือบริษัทเอกชนต่างๆ สามารถขอเช่าใช้ได้ TOT จึงได้กำหนดส่วนแบ่งรายได้ขึ้นมาใหม่ โดยกรณีเป็นผู้ใช้บริการของ TOT : TOT ได้รับร้อยละ 25 AIS ได้รับร้อยละ 75 ตลอดอายุสัญญา กรณีเป็นผู้ใช้บริการของ AIS : TOT ได้รับร้อยละ 22 AIS ได้รับร้อยละ 78 ตลอดอายุสัญญา ซึ่ง AIS มีหน้าที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบสื่อสัญญาณนั้นตลอดจนอายุสัญญา

ผมมีข้อสงสัยในหลายประเด็นที่ทำให้ไม่สามารถจะวิเคราะห์อะไรได้
ส่วนแบ่งรายได้ที่ TOT กำหนดขึ้นใหม่ (ที่เขียนอยู่ด้านบน) เกี่ยวข้องอย่างไร? กับ ค่าสัมปทานที่ AIS ต้องจ่ายให้ TOT (20% และ 25% ของรายได้) แล้วส่วนแบ่งแบบเดิมเป็นอย่างไร? หรือว่าเป็นค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Inter-connection Charge) ระหว่างค่ายมือถือหนึ่ง กับ อีกค่ายหนึ่ง เช่น ลูกค้าที่ใช้ AIS โทรหาเพื่อนซึ่งใช้ของ DTAC ซึ่งจะต้องมีการคิดค่าบริการระหว่างกัน แล้วระบบสื่อสัญญาณ เกี่ยวข้องกับ ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย อย่างไรหรือไม่? AIS ต้องจ่ายค่าเชื่อมโยงให้ DTAC หรือว่า DTAC ต้องจ่ายค่าเชื่อมโยงให้ AIS เทียบได้กับเอา ATM ของแบงค์กรุงเทพ ไปกดที่ตู้ของแบงค์กสิกรไทย แล้วแบงค์กสิกรไทยคิดค่าธรรมเนียมกับแบงค์กรุงเทพ หรือไม่

ช่วงนั้น (ต้นปี 53) ผมได้ขอให้ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ผมสงสัย ช่วยแสดงความเห็นใน newskythailand, konthaiuk, thaipeoplevoice ห้องราชดำเนิน และ ห้องสินธร แต่ก็ไม่ได้รับการตอบกลับ ปัจจุบันก็ยังไม่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ ท่านใดที่มีความเข้าใจในข้อสงสัยของผม ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

อยากรู้จริงๆว่า ความเสียหายต่อรัฐ 31,750 ล้านบาท แมร่งคิดจากตรงไหนวะ กสท.ขาดรายได้ 8,750 ล้านบาท และทศท. (TOT) ขาดรายได้ 13,000 ล้านบาท รวมยอดเป็น 21,750 ล้านบาท ผิดไปตั้งหมื่นล้าน แม่งทำอะไรกันลวกๆ แสดงพิรุธให้เห็นชัด

ความเห็นของกลุ่มอ.วรเจตน์ หลังจากที่ศาลตัดสินยึดทรัพย์ท่านทักษิณแล้ว https://prachatai.com/journal/2010/03/28085 (ข้อกล่าวหา คตส. ข้อ 1 – 3 อยู่ในประเด็นที่ 3 – 5 ของความเห็นกลุ่มอ.วรเจตน์) ผมจำได้ว่าเมื่อก่อนมือถือโทรข้ามเครือข่ายไม่ได้ ภายหลังจึงสามารถโทรข้ามเครือข่ายได้ ใครพอทราบบ้างว่าโทรข้ามเครือข่ายได้หลังจากปี 44 หรือเปล่า

พอดีได้ไปพบข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูล (56-1 report) ประจำปี 2544 เกี่ยวกับการลงทุนซื้อ ดีซีพี และ การใช้โครข่ายร่วม เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ ลองอ่านดูครับ การเข้าไปลงทุนดังกล่าว จะช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น โดยจะเป็นบริษัทแรกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล GSM ใน 2 ย่านความถี่และจะมีข้อตกลงในการใช้เครือข่ายร่วมกัน (Network Roaming) ซึ่งจะทำให้สามารถให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น และมีความสามารถในการรองรับจำนวนผู้ใช้บริการได้มากกว่าเดิม

ทั้งสองบริษัทยังสามารถวางแผนการลงทุนขยายเครือข่าย (Network) ร่วมกันเพื่อประหยัดเงินลงทุน และสามารถใช้เครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเกิดการซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด และมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการรองรับการเปิดเสรีโทรคมนาคม ซึ่งธุรกิจของ DPC จะเอื้อต่อธุรกิจของบริษัท และเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพและสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีต่อบริษัทในอนาคต นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาบริการเสริม เพื่อตอบสนองความต้องการ และ สามารถจัดวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ (Product Positioning) ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่มมากยิ่งขึ้น

หลังจากมีการเข้าไปถือหุ้นใน DPC แล้ว บริษัทได้วางตำแหน่งของสินค้าของ DPC ใหม่คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ “GSM 1800” ซึ่งจะเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศเทียบเท่ากับเครือข่ายการให้บริการ ของระบบดิจิตอล GSM Advance ทั้งนี้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ DPC จะเป็นลูกค้าที่มีความต้องการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการติดต่อสื่อสาร ขั้นพื้นฐาน และต้องการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีเครือข่ายการให้บริการครอบคลุมทั่ว ประเทศ


ข้อกล่าวหาข้อ 4 อนุญาตโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์  ข้อกล่าวหาข้อ 4 ดาวเทียมไทยคม 4
ข้อมูลของคุณ Jampoon ที่โพสท์ไว้ในห้องราชดำเนิน (PANTIP) วันที่ 15 ม.ค. 53

ประเด็นแรกในข้อกล่าวหา ไม่ยิงดาวเทียมไทยคม 4

ข้อเท็จจริงจาก Annual Report ของบริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท ชินแซทได้ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ซึ่งเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์เชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (และเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์ดวงแรกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2548

บริษัทฯ ได้รับรางวัล “2006 Industry Innovator for Technology Development and Application” จากสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพดาวเทียมนานาชาติ (Society of Satellite Professionals International หรือ SSPI) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็น รางวัลนวัตกรรมดีเด่นของวงการดาวเทียมโลก ประเภทการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบงาน

ต่อมาประมาณกลางปี 2549 บริษัทฯ ยังได้รับรางวัลเอเชียแปซิฟิกประเภท “ผู้ให้บริการดาวเทียมดีเด่นประจำปี 2549” จาก FROST & SULLIVAN ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทด้านที่ปรึกษาและวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก นอกจากนี้ สถานีบริการภาคพื้นดินไทยคม หรือที่เรียกว่า “Thaicom Teleport & DTH Center” ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ยังติดอันดับหนึ่งในสิบสถานีบริการ เทเลพอร์ตที่ดีที่สุดของโลก จากการจัดอันดับของสมาคมเทเลพอร์ตโลก (The World Teleport Association –WTA) รางวัลที่ได้รับเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ ได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นบริษัทฯ ที่มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และมีพัฒนาการเติบโตทางธุรกิจดาวเทียมเร็วที่สุดบริษัทหนึ่งของโลก

เอี้ย คตส. Goo ไม่รู้จะเทศน์ให้พวกมึงฟังอย่างไงดี ความชิงชังต่ออัศวินดาวเทียมจึงลดลง คุณสมบัติของดาวเทียมไอพีสตาร์เหนือกว่าของดาวเทียมไทยคม 4 ทีกำหนดไว้ทุกด้าน บริษัทชินแซทเขาสร้างไอพีสตาร์แทนไทยคม 4 พวกมึงบอกว่า หนูไม่เอาไอพีสตาร์ หนูจะเอาไทยคม 4 พวกมึงนี่แม่ง ทั้งเลว-บ้า-หน้าด้าน

โครงการไอพีสตาร์ (บางส่วน)
โครงการไอพีสตาร์

ดาวน์โหลดเพื่อดูทั้งหมด คลิก >> ไอพีสตาร์ (74 kb)

ประเด็นที่สองในข้อกล่าวหา ลดภาระการลงทุนฯ เป็นจำนวนกว่า 20,768 ล้านบาท

ข้อเท็จจริง
เดิมบริษัทชินคอร์ปถือหุ้นในบริษัทชินแซทอยู่ 51.4% ต่อมาชินแซทขายหุ้นเพิ่มทุนอีก 208 ล้านหุ้นให้แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย ทำให้สัดส่วนการถือหุ้น (การลงทุน) ของชินคอร์ปในชินแซท ลดลงเหลือ 41.34% ถ้าต้องการให้ชินคอร์ปถือหุ้นในชินแซทตามสัดส่วนเดิม ชินคอร์ปต้องเป็นผู้ลงทุนซื้อหุ้นที่ชินแซทนำออกขายประมาณ 110 ล้านหุ้น (จากที่นำออกจำหน่าย 208 ล้านหุ้น) ราคาหุ้นละ 15.30 บาทรวมเป็นเงินที่ต้องลงทุนประมาณ 1,679 ล้านบาท คตส.เขียนข้อกล่าวหาว่า … ลดภาระการลงทุนที่ต้องดำเนินตามสัญญาเป็นจำนวนกว่า 20,768 ล้านบาทไม่รู้ว่าพวกมึงไปเอาตัวเลขมาจากไหน

ผมไม่ทราบเหตุผลว่า ทำไมชินแซทจึงเลือกวิธีนำหุ้นออกจำหน่าย แต่อย่างไรก็ตาม ชินคอร์ปฯยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในชินแซทฯเหมือนเดิม มีสิ่งหนึ่งที่นักบัญชีเขายึดเป็นหลักก็คือ “เนื้อหาย่อมสำคัญกว่ารูปแบบ” ซึ่งพอจะนำเอามาเปรียบเทียบกับเรื่องนี้ได้ เนื้อหาก็คือ เงินลงทุนที่ต้องการใช้จำนวน 1,679 ล้านบาท รูปแบบก็คือ ชินคอร์ปเป็นผู้ลงทุนเอง หรือ ให้ผู้อื่นร่วมลงทุน ทำไมต้องไปยึดติดกับรูปแบบด้วย Eหยิงเปรต มึงก็เป็นนักบัญชีที่พ่วงเกียรตินิยมอีกด้วย มึงจำไม่ได้หรือวะ “เนื้อหาย่อมสำคัญกว่ารูปแบบ”

สมมติว่าชินคอร์ปฯใช้วิธีไปกู้เงินมา แล้วนำเงินกู้ที่ได้มาไปซื้อหุ้นจะผิดอีกมั๊ยเนี่ย เพราะเคยมีเกิดขึ้นแล้วกรณีบริษัทกุหลาบแก้ว ตอนที่เข้าไปซื้อหุ้นของชินคอร์ปใช้เงินทุนจากผุ้ถือหุ้นและจากการกู้ไปซื้อ หุ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด ดาวเทียมไอพีสตาร์ (ไทยคม 4) ได้ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ที่ คตส.กล่าวหาชินคอร์ปว่า ลดภาระการลงทุนที่ต้องดำเนินตามสัญญาเป็นจำนวนกว่า 20,768 ล้านบาทนั้น ผมคิดว่าจริงๆแล้ว คตส.ไม่น่าจะหมายถึงจำนวนเงินที่ชินคอร์ปจะต้องลงทุนในหุ้นชินแซทที่นำออก จำหน่ายเพิ่ม (ตามที่ผมคำนวณ 1,679 ล้านบาท) เพราะหยิงเปรตมันก็เป็นนักบัญชีระดับเกียรตินิยมไม่น่าจะผิดพลาดในเรื่อง ง่ายๆเช่นนี้ จะว่าเป็นราคาสร้างดาวเทียมไทยคม 4 ก็ไม่ใช่ เพราะส่วนนี้มัน 4,000 ล้านบาท หรือว่าเป็นตัวเลขที่โหร คมช.มันบอกพวกมึงวะ

การลดสัดส่วนการถือหุ้นของชินคอร์ปในชินแซท จาก 51% เหลือ 40% คตส.มันใช้คำว่าลดภาระการลงทุน แต่ผู้พิพากษาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในคำพิพากษาว่า การลดสัดส่วนการถือหุ้นลง 11% มีผลทำให้ชินคอร์ปได้รับเงินทุนคืน ตรงนี้เรียกว่า เข้ารกเข้าป่าไปเลย รายละเอียดของเรื่องนี้จะอยู่ในข้อเขียนในตอนต่อๆไป

ค่าเสียหายต่อรัฐที่พวก คตส. เขียนไว้ในข้อกล่าวหา ข้อ 1 จำนวนเงิน 70,872 ล้านบาท ข้อ 2 จำนวนเงิน 31,750 ล้านบาท และ ข้อ 4 จำนวนเงิน 20,768 ล้านบาท รวมทั้งหมด 123,390 ล้านบาท พวกมึงนี่ เลวแบบหาที่สิ้นสุดไม่เจอ เลวระดับ Infinity


ข้อกล่าวหาข้อ 5 ให้พม่ากู้เงินรัฐบาลไทยซื้อสินค้าชินคอร์ป  ข้อกล่าวหาข้อ 5 ให้พม่ากู้เงินรัฐบาลไทยซื้อสินค้าชินคอร์ป
ข้อมูลของคุณ Jampoon ที่โพสท์ไว้ในห้องราชดำเนิน (PANTIP) วันที่ 15 ม.ค. 53

ข้อเท็จจริงจาก https://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais
ซึ่งจัดทำโดยผู้ที่ใช้ชื่อว่า คนไทยเพื่อคนไทย Thai4Thai (ปัจจุบันคือ ThaiInter แห่งประชาทอล์ค)

หน่วยงานของรัฐและเอกชนหลายแห่งของพม่า ซื้อบริการจากดาวเทียมไทยคมและอุปกรณ์ต่างๆจากบริษัทชินแซตมาตั้งแต่ปี 2541 (ก่อนทักษิณเป็นนายก) ในปี 2546 ไทย พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ร่วมมือกันทำยุทธศาสตร์ความมือกันทางเศรษฐกิจ ไทยจึงประกาศให้วงเงินกู้แก่สมาชิก ประเทศละประมาณ 4,000 ล้านบาทผ่านธนาคารเพื่อการและนำเข้าของไทย (EXIM Bank) เพื่อใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อจากบริษัทของไทย เพื่อนำไปใช้สำหรับโครงการสาธารณูปโภคของประเทศนั้น

ในปี 2547 พม่าใช้วงเงินกู้ไปประมาณ 300 ล้านเพื่อชำระค่าอุปกรณ์/บริการดาวเทียมให้แก่ไทยคม ต่อมาในปี 2549 พม่าก็ได้ซื้ออุปกรณ์/บริการจากไทยคมอีก แต่จ่ายชำระให้ไทยคมด้วยเงินของตนเอง ทั้งๆที่ยังมีวงเงินกู้เหลืออยู่

ส่วนลาวและกัมพูชาก็ใช้บริการของไทยคมมาตลอด แต่ไม่เคยใช้วงเงินกู้เพื่อชำระค่าอุปกรณ์/บริการเลย พม่าไม่ได้มีการเบี้ยวเงินกู้แต่อย่างใดและไม่มีปัญหาเรื่องการชำระหนี้เงิน กู้ เพราะพม่ามีรายได้เป็นจำนวนมากจากสัมปทานต่างๆ เช่น ปตท.ต้องจ่ายค่าแก๊สและน้ำมันให้พม่าปีละหลายหมื่นล้าน

ผลพวงจากการให้วงเงินกู้ก็คือ ปตท.ได้สัมปทานบ่อแก๊สจากพม่านับแสนล้านบาท นอกจากนี้นายกทักษิณยังได้ขอให้พม่าช่วยจัดการแหล่งผลิตยาเสพติดในพม่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นโยบายปราบยาเสพติดของนายกทักษิณได้ผล

อีกความเห็นเกี่ยวกับข้อกล่าวหานี้ (จากคุณ ขาจร…ขอแจม ห้องราชดำเนิน พันทิป)

กรณี เงินกู้พม่า ตกลง ทักษิณ ต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ ทั้ง 5 พันล้านบาท เลยหรือ ทั้งๆ ที่เรื่องเงินกู้พม่า ยังไม่มีความเสียหายอะไรเกิดขึ้นเลย พม่าก็ไม่ได้ชักดาบ ซ้ำให้พม่ากู้ ไทยได้ประโยชน์อีกต่างหาก ปตท ได้สัมปทานบ่อก๊าซ มูลค่าหลายแสนล้านบาท พม่ากู้เงินไทย ก็เอาเงินมาซื้อสินค้าไทย บริษัทห้างร้านไทยต่างๆ ก็ได้ประโยชน์ ครบกำหนดชำระหนี้ พม่าก็เอาดอกเบี้ย พร้อมเงินต้นมาคืน ประเทศไทยมีแต่ได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งร่อง แต่เรื่องนี้ ทักษิณ ผิดเฉย เอาไปบวกรวมกับการหาเรื่องยึดทรัพย์ด้วย
จากการวิเคราะห์และข้อเท็จจริง ที่ได้นำเสนอผ่านมาแล้ว
ชี้ให้เห็นว่า นายกทักษิณไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของท่าน

ความเห็นจาก นักพรตทราย (genocide009)
ข้อ 1
ไม่เอาปี2549 เทียกับปี2475 ซะเลยล่ะ แม้ เล่นเอาไปเปรียบ ปี2542 โน้น สมัยเพจเจอร์ครองเมือง
มือถือ กระติก เครื่องละ ครึ่งแสน ประชาชน วับรุ่นมันซื้อได้หรือ
ข้อ 2
ไม่ลอง เล่นเรื่อง cat หน่อยหรือ เสือนอนกิน ตัวจริง บริษัทของ แม่นม รัฐบาล เล่นไม่พูดถึงเลยนะ
ข้อ 3
เอ๋สมัยใครหว่า ที่ ต้องประมูลสัมปทานคลื่น900 1800 โดย ทักษิณ ได้แค่ คลื่นเดียว แต่ บริษัทแม่นม รัฐบาลได้สองคลื่น ยุคนั้นเค้าไม่เรียกผูกขาดหรือ ต้องมาประมูลสัมปทานกับรัฐ แถม บริษัทแม่นม รัฐบาล ซึ่งเป็นรัฐมนตรีสมัยนั้น ยังร่วมประมูลได้
ข้อ 4
“โดยเปิดโอกาสให้ระดมทุนจากตลาดหุ้น มาลงทุน”
ขอประทานโทษ จะให้กู้ อย่างเดียวหรือไงครับ รู้จักคำว่า ร่วมลงทุนไหม ไม่โง่แบบ รัฐบาลนี้ครับ วิธีหาเงิน มีแต่การ กู้ น่ะ
ข้อ 5
ไม่ทราบว่า รู้หรือเปล่าเวลา คนเรากู้ น่ะ มันต้องคืน ครับ
ไม่ใช่ความคิดแบบ มาร์กๆนะครับ กู้แล้วไม่ต้องคืน
ส่วนเรื่อง ซื้อสินค้าจากซิน อยู่ใน สัญญาเปล่า หรือ ทักษิณสั่ง พม่าทำตามได้ หรือจะด่าว่า พม่าโง่ ที่โดยทักษิณ จูงจมูก ถ้าเรื่องผลประโยชน์ทัซ้อน ฝากเรื่อง หวยออนไลน์ด้วย ประธาน และ กรรมการ นามสกุล อะไรนะ ล่ำๆ กะ ติๆ ฝากเชือดด้วย รัฐบาลมาร์กจะไม่ต้องเสีย ค่าโง่ อ้างว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน
ไล่รัฐมนตรี เซฟเงินประเทศชาติ เป็น พันล้าน หรือว่า หน้าตารัฐบาล สำคัญ กว่าเงินของประชาชนเป้น พันๆล้าน

—————————————————

ความเห็นจาก ขาจร…ขอแจม
กรณี เงินกู้พม่า ตกลง ทักษิณ ต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ ทั้ง 5 พันล้านบาท เลยหรือ ทั้งๆ ที่เรื่องเงินกู้พม่า ยังไม่มีความเสียหายอะไรเกิดขึ้นเลย พม่าก็ไม่ได้ชักดาบ ซ้ำให้พม่ากู้ ไทยได้ประโยชน์อีกต่างหาก ปตท ได้สัมปทานบ่อก๊าซ มูลค่าหลายแสนล้านบาท พม่ากู้เงินไทย ก็เอาเงินมาซื้อสินค้าไทย บริษัทห้างร้านไทยต่างๆ ก็ได้ประโยชน์ครบกำหนดชำระหนี้ พม่าก็เอาดอกเบี้ย พร้อมเงินต้นมาคืน ประเทศไทยมีแต่ได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งร่อง แต่เรื่องนี้ ทักษิณ ผิดเฉย เอาไปบวกรวมกับการหาเรื่องยึดทรัพย์ด้วย

—————————————————

ความเห็นจาก ajibjoy
เวรกรรม
1. ปี 42 มีผู้ใช้ AIS 23000 ราย ปี49 มีผู้ใช้ 17 ล้านราย แถม จ่ายปันผล กย. 49 คิดได้ไงเนี่ย ปี42 โทรศัพท์พร้อมเบอร์เครื่องละเกือบสี่หมื่น ปี 49 เครื่องละพันกว่าบาท คนก็ใช้มากขึ้นเป็นธรรมดา แถมทักษิณขาย AIS ให้เทมาเส็กไปตั้งกะต้นปี 49 แล้ว หุ้นมันจะจ่ายปันผลกันเท่าไรปลายปี 49 มานไปเกี่ยวอารายกะทักษิณ
2. ประเทศไหนๆเค้าก็โรมมิ่งกันทั้งนั้นล่ะ ไม่งั้นค่าโทรศัพท์จะลดถูกลงแบบทุกวันนี้เหรอ เงินที่เข้า กสท ทศท. ก็เงินของพวกคุณที่ใช้โทรศัพท์กันทั้งนั้นล่ะ
3. มีสรรพสามิตก็หาว่าได้เปรียบ ถ้ายกเลิกก็หาว่ารัฐขาดรายได้ จะเอาไงแน่ฟ่ะ
4. อธิบายเพิ่มเติมหน่อย ว่ามันเสียหายตรงไหน
5. ตอนนี้พม่ามันชักดาบไม่คืนเงินแล้วหรือไง แล้วดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ ผันแปรตามธนาคารโลก นี่มันน้อยไปหรือไง

—————————————————

ความเห็นจาก saipin
อ่านแล้ว น่าสงสารท่านนายกทักษิณฯ นะคะ ทรัพย์ของท่าน ทำมาหากินก่อร้างสร้างตัวด้วยตัวของท่านเองแท้ๆไปยึดทรัพย์สินของท่านทำไมกัน

—————————————————

ความเห็นจาก yu (5150THAI)
แล้วใครเป็นคนปรับ ลดราคาโทรศัพท์ ทางไกล ในประเทศครับ จะได้ให้ตามไปยึดทรัพย์ เพราะแต่ก่อนโทรไปเชียงใหม่ นาทีละ 18 บาท ตอนนี้ไม่กี่บาท ถ้าคิดเป็น รัฐรายได้ ลดลง คงเป็น แสนล้าน?? ถ้าคิดแบบนี้ แล้วใครรับผิดชอบ?? (ผมว่าที่ทักษินทำก็เพื่อ ประชาชน จะได้ใช้ ค่าโทรถูกลง) มันก็เป็นเรื่องดีของส่วนรวมอยู่แล้ว หรือ จะกลับไปจ่ายค่ารายเดือน เดือนละ 500 เหมือนเดิม และค่าโทร นาทีละ 3 บาท กันดีครับ คุณ คนรักชาติทั้งหลาย??

—————————————————

ความเห็นจาก มีดบิ่น
อ่านแล้ว จะรู้ว่า ที่เราได้ใช้โทรศัพท์ ราคาถูกทุกวันนี้ เพราะทักษิณนี่เอง มันเป็นคุณประโยชน์ต่อประชาชน ยิ่งอ่านยิ่งรักทักษิณมากขึ้น ถ้าทักษิณไม่ทำแบบนั้น วันนี้เราคงเสียค่าโทรศัพท์นาทีละ 10 บาทเหมือนทุกวันนี้ ที่ระบบ 3G ยังไม่เกิดเพื่อเป็นทางเลือกแก่ประชาชน

—————————————————

ความเห็นจาก เ ห็ ด ห อ ม
เมื่อปี 43 ผมเสียค่าโทรศัพท์เดือนละ เป็น 1500-2000 บาท ให้ AIS เดี๋ยวนี้ผมโทรน้อยลงแต่เสียเดือนละแค่ 214 บาท .. เมื่อก่อนไม่โทรเลยก็ยังต้องเสีย 535 บาท …ผมว่าฝ่ายตรงข้ามทักษิณ เสียประโยชน์ แต่ชาติ และประชาชน ได้ประโยชน์ อำมาตย ปชป. และเสื้อเหลือง คงรับไม่ได้

—————————————————

ความเห็นจาก kriengchai
รายได้ที่ลดลงไปของรัฐ จากข้อกล่าวหา 1-3 มันก็กลับคืนไปสู่ประชาชนในแง่ของค่าบริการที่ถูกลง พอถูกลงคนส่วนมากโดยเฉพาะคนรายได้น้อยก็สามารถใช้ประโยชน์จากโทรคมนาคมได้มากขึ้น เป็นข้อกล่าวหาที่เหลวไหลมาก ข้อ 4-5 เลิกพูดเถอะครับ เหมือนกับน้ำจิ้มยัดเข้ามาให้ดูเหมือนปริมาณมาก

—————————————————

ความเห็นจาก reuse
ขอตอบเฉพาะข้อ 3 ข้อเดียว ที่เค้าแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตรนะ ก็เนื่องจากมันจะมีกทช. (ที่แบบเป็นตัวเป็นตนจริง ๆ ไม่ใช่หลักลอยแบบทุกวันนี้) ซึ่งเมื่อมีกทช. พวกคลื่นความถี่ทั้งหลาย ไม่ว่าวิทยุ โทรทัศน์ มือถืออะไรนี้ มันถือเป็นสมบัติส่วนรวมไม่ใช่รัฐจะมาเหมาเอาไปคนเดียว แล้วเมื่อถึงเวลานั้นที่กทช. เกิดขึ้นจริงค่าสัมปทานตรงนี้จะหายไปเลยเป็นหมื่น ๆ ล้าน (เพราะสัมปทานส่วนหนึ่งก็กำลังจะหมดอายุ) เค้าจึงให้มาเก็บภาษีสรรพสามิตร (ซึ่งมันได้เงินมาไม่น้อยกว่าค่าสัมปทาน) และอีกอย่าง เมื่อมีกทช.พวกบริษัทมือถือมันก็จะถ่ายโอนลูกค้าจากบริษัทเดิมไปบริษัทใหม่ที่มีภาษีน้อยแทน …ลองไปหาอ่านหน้าพวก Telecom ดูบ้างนะ อย่าเรียกว่าด่าเลยเค้าเรียกว่าโ…แล้วอวดฉลาดมากกว่านะ…อ่านแล้วคิด ๆ ด้วยนะ อีกเรื่องหนึ่ง…สำหรับตอนนี้สรุปได้ว่า ทศท. นอนพุงปลิ้น รับทำ 3G เฮไปแล้ว แต่รู้ไหมว่ามีเครือข่ายกระจายสัญญาณนิดเดียว แถม Internation link ก็น้อยกว่าเจ้าอื่น ๆ อีกด้วย สงสารประเทศไทย ที่มีคนอคติอยู่มากมาย เจ้าอื่นรอท่าแต่ทำไม่ได้เพราะติดกทช. ไม่รู้จะเอาอย่างไรกันแน่
บางคนบอกให้ว่าทำแค่ 2G พอ โถพี่ทำไมพี่ไม่ใช่เครื่องพิมพ์ดีดทำงานแทนเลยล่ะ…ปัดโถ่…ข้อกล่าวหาของคตส.ในภาพรวม “นายกทักษิณเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจของท่าน ทำให้ธุรกิจของท่านเติบโตมาก ส่งผลให้ราคาหุ้นสูงขึ้น” คำถามก็คือ ธุรกิจของตระกลูชินวัตรเท่านั้นหรือ ที่เติบโตมาก?? ธุรกิจของคนในตระกูลอื่นไม่เติบโตเลยหรือ?? ราคาหุ้นของธุรกิจในตระกูลชินวัตร สูงขึ้นกว่าของตระกูลอื่น จริงหรือ?? สิ่งที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ ก็คือ ต้องเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของกิจการที่เป็นของตระกูลชินวัตร กับ ของตระกูลอื่นๆหรือคนอื่นๆ

เปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรของบริษัท

อัตราส่วนทางการเงินที่นิยมใช้วัดความสามารถในการทำกำไร มี 3 แบบ คือ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และ กำไรต่อหุ้น

มาทำความเข้าใจเรื่องส่วนของผู้ถือหุ้นกันก่อน (สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจ) บริษัทที่นายกทักษิณเคยถือหุ้น มักจะถูกกล่าวว่าเติบโตมากกว่าบริษัทอื่นๆ มีกำไรมากกว่าบริษัทอื่นๆ การที่จะเปรียบเทียบโดยการจับตัวเลขกำไรของแต่ละบริษัทมาเปรียบเทียบกันโดย ตรงไม่ได้ เช่น บริษัท A กำไร 10,000 ล้านบาท บริษัท B กำไร 13,000 ล้านบาท ถ้าดูตามตัวเลข บริษัท B กำไรมากกว่า บริษัท A 3,000 ล้านบาท แล้วก็สรุปว่า บริษัท B มีความสามารถทำกำไรมากกว่าบริษัท A ไม่ได้ครับ

การเปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรระหว่างกิจการหนึ่งกับอีกกิจการหนึ่ง ต้องเอากำไรไปเทียบกับอะไรสักอย่างหนึ่ง เช่น สินทรัพย์ (เดิมเรียกว่าทรัพย์สิน) ของกิจการ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นต้น นั่นก็คือ หาว่ากำไรคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของสินทรัพย์หรือของส่วนของผู้ถือหุ้น (สินทรัพย์ของกิจการได้แก่ เงินสด ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น)

ส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆแบบชาวบ้าน ก็คือ เงินลงทุนส่วนที่เป็นของเจ้าของบริษัท (สินทรัพย์สุทธิ) เช่น เราไปซื้อหุ้นของบริษัทที่เปิดใหม่ 1 หุ้นราคาหุ้นละ 100 บาท สิ้นปีที่หนึ่งมีกำไรหลังภาษี หุ้นละ 7 บาท บริษัทยังไม่มีการจ่ายเงินปันผล มูลค่าหุ้นตามบัญชีต่อหุ้นก็คือ 107 บาท สิ้นปีที่สองได้กำไรอีก 13 บาท มูลค่าหุ้นตามบัญชีต่อหุ้นเมื่อสิ้นปีที่สองก็คือ 120 บาท ( 107 + 13 ) พูดง่ายมีกำไรแล้วเอาไปลงทุนต่อ ไอ้ 120 บาทนั่นแหละเรียกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น (เฉพาะของเราคนเดียว)

สมมติสิ้นปีที่สามมีกำไรหลังภาษีหุ้นละ 18 บาท อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นจะเท่ากับ ( 18 ÷ 120 ) × 100 ซึ่งเท่ากับ 15% อันนี้เป็นวิธีการคิดที่น่าจะทำให้ผู้ที่ไม่ค่อยมีความรู้ทางบัญชีเข้าใจได้ง่าย (ในทางปฏิบัติจริงเขาใช้กำไรสุทธิ หารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย) มูลค่าหุ้นตามบัญชีต่อหุ้น ณ สิ้นปีที่สามก็คือ 138 บาท ( 120 + 18 ) ถ้าในปีถัดไปบริษัทจ่ายเงินปันผล (จ่ายกำไร) ให้หุ้นละ 10 บาท มูลค่าหุ้นตามบัญชีต่อหุ้นก็จะเหลือ 128 บาท ( 138 – 10 )

อธิบายความหมายส่วนของผู้ถือหุ้นอีกแง่มุมหนึ่งก็แล้วกัน โดยใช้ “ฐานะการเงินส่วนบุคคล” เป็นพื้นความรู้เพื่อนำไปสู่ส่วนของผู้ถือหุ้น สมมิตว่าบ้านท่านมีเงินสดและเงินฝากธนาคาร 1 ล้านบาท มีทรัพย์สินอื่นๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เครื่องใช้ในบ้าน ตีราคารวมกันได้ 4 ล้านบาท ก็คือ มีทรัพย์สินทั้งหมด 5 ล้านบาท และมีหนี้สิน เช่น เป็นหนี้ธนาคาร 2 ล้านบาท ดังนั้น ท่านมีทรัพย์สินสุทธิเท่ากับ 3 ล้านบาท เรียกว่า “ส่วนของตัวเอง” ก็แล้วกัน บริษัทต่างๆ ก็มีสินทรัพย์ (ทรัพย์สิน) และหนี้สินเหมือนกับบุคคลธรรมดานั่นแหละ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” ก็เปรียบได้กับ “ส่วนของตัวเอง” นั่นก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น จะเท่ากับ ยอดรวมสินทรัพย์ทั้งหมด หักด้วย ยอดรวมหนี้สินทั้งหมด

จริงๆแล้วในงบการเงิน เราไม่ต้องคำนวณหายอดส่วนของผู้ถือหุ้น เพราะว่าในงบการเงินมียอดแสดงไว้อยู่แล้ว อันนี้ต้องการอธิบายให้พอเข้าใจเพื่อจะได้อ่านความเห็นที่ผมเขียน แล้วเกิดความเข้าใจไม่มากก็น้อย

ตัวอย่าง รายการสินทรัพย์ หนี้สิน และ ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ตัวอย่างงบดุล
ตัวอย่างงบดุล 2
ตัวอย่างงบดุล 3

สำหรับท่านที่เข้าใจเรื่องส่วนของผู้ถือหุ้นแล้ว ไม่ต้องอ่านส่วนนี้ก็ได้ ข้ามไปดูที่ตารางได้เลย ตรงนี้จะขอสนองไอเดียของท่านนายกทักษิณเรื่อง Learning Organization ประเทศเราต้องเป็นองค์กรที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ได้กล่าวเรื่องมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นไปแล้ว ขอขยายความเพิ่มเติม โดยใช้ข้อมูลในงบการเงินของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ไม่รวมบริษัทย่อย) รายการในงบดุล ณ สิ้นปี 50 สรุปย่อได้ดังนี้ สินทรัพย์ 130,967 ล้านบาท = หนี้สิน 95,794 ล้านบาท + ส่วนของผู้ถือหุ้น 35,173 ล้านบาท (ทุนที่ออกและชำระแล้ว 1,200 ล้านหุ้น) กำไรสุทธิ 17,950 ล้านบาท

มีคำถามว่าแล้วตรงไหนล่ะที่เขาเรียกกันว่าเงินลงทุน คำตอบก็คือมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทนั่นเอง สินทรัพย์ทั้งหมดก็เกิดจากการลงทุนของเจ้าของ (ผู้ถือหุ้น) และ เจ้าหนี้ ดังนั้น ส่วนที่เป็นการลงทุนของเจ้าของก็คือสินทรัพย์สุทธิ (สินทรัพย์ทั้งหมด หัก หนี้สินทั้งหมด) ซึ่งมีค่าเท่ากับส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง

เงินลงทุนจึงมี 2 ความหมาย คือ สินทรัพย์ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น ดังนั้น ผลตอบแทนจากการลงทุนก็คือ เอากำไรสุทธิ ไปเทียบกับ สินทรัพย์ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น นั่นเอง ว่ามันคิดเป็นกี่เปอร์เชนต์ ถ้าเอากำไรสุทธิไปเทียบกับ ส่วนของผุ้ถือหุ้น เขาเรียกว่า ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity; ROE)

ฉะนั้น ถ้าใช้ตัวเลขของปูนซิเมนต์ที่นำมาแสดงจะได้ค่าเท่ากับ 17,950 ÷ 35,173 = 51% (ในทางปฏิบัติส่วนของผู้ถือหุ้นที่นำไปหารนั้น จะใช้ค่าเฉลี่ยของส่วนของผู้ถือหุ้นสิ้นปีปัจจุบันกับสิ้นปีก่อน ก็คือรวมกันแล้วหารด้วยสอง) 51% แปลความหมายได้ว่าลงทุน 100 บาทได้กำไร 51 บาท

ปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

ท่านทักษิณเป็นนายกปี 44 ตระกูลท่านขายหุ้นไปทั้งหมดเมื่อต้นปี 49 ดังนั้นจึงใช้อัตราผลตอบแทนตั้งแต่ปี 44 – 48 ของกิจการต่างๆมาเปรียบเทียบกัน

เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น รายปี
สูงเป็นอันดับหนึ่ง สูงเป็นอันดับสอง (ค่า ROE สูงถือว่าดี) เอไอเอสติดอันสองแต่ปีเดียว ส่วนชินแซทฯน่าสงสารจัง ชิงบ๊วย

ผมไม่ใช่นักเล่นหุ้น ไม่ได้สนใจเรื่องนี้ จึงไม่รู่ว่ามีบริษัทใดบ้างที่มีอัตราผลตอบแทนสูงๆ แต่เชื่อมีอีกเยอะครับ ทั้งบริษัทขนาดใหญ่ขนาดเล็ก การเปรียบเทียบอัตรา ต้องเปรียบเป็นรายปีไป บางปีกิจการนี้มากกว่ากิจการโน้น บางปีกิจการนี้น้อยกว่ากิจการโน้น คำถามก็คือเราจะจัดอันดับกันอย่างไร คำตอบก็คือ ต้องหาตัวแทนของ 5 อัตรา (ทำให้ 5 อัตราเหลือเพียงอัตราเดียว) ภาษาของนักสถิติเขาเรียกว่าการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

วิธีง่ายที่สุดก็คือหาค่าเฉลี่ย (หายอดรวมของ 5 อัตรา แล้วหารด้วย 5) แต่วิธีนี้ไม่ควรจะนำมาใช้เพราะปี 45 ธนาคารไทยพาณิชย์ขาดทุน ดังนั้น ใช้วิธีหาค่ามัธยฐาน (ค่าตรงกลาง) จะดีกว่า วิธีการก็คือ นำเอาอัตราทั้ง 5 ปีของแต่ละกิจการมาเรียงอันดับจากน้อยไปหามาก ค่ามัธยฐานก็คือ อัตราที่อยู่ลำดับสาม ผมขอยกเอาอัตราผลตอบแทนของปูนซิเมนต์ทั้ง 5 ปีมาเรียงลำดับให้ดูก็แล้วกัน
14% ……….. 22% ……….. 53% ……….. 79% ……….. 85%

จัดลำดับบริษัทตามอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

ใครที่ยังข้อใจว่า ชินคอร์ปฯ เอไอเอส และ ชินแซทฯ เท่านั้นที่เติบโตมาก เห็นตัวเลขนี้แล้วคงจะหายข้องใจ ดังนั้นเวลาเราไปโต้กับพวกสลิ่ม ก็บอกว่า ชินคอร์ปของตระกูลท่านทักษิณแค่ 21% ของปูนซิเมนต์ปาเข้าไปตั้ง 53% จบข่าว

ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย
ผู้ถือหุ้นใหญ่ ปตท.

ขอชี้แจงท่านที่ไม่เคยอ่านตอนที่ผมเขียนเมื่อต้นปี 53 แต่เพิ่งจะได้อ่านตอนนี้ ผมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทของท่านทักษิณและตัวท่านทักษิณแต่อย่างใด ผมเป็นแค่เพียงคนที่มีความศรัทธาในตัวท่านทักษิณเท่านั้น เมื่อผมได้เข้าไปอ่านกระทู้ของคุณ Jampoon เรื่องข้อกล่าวของคตส. ทำให้ผมอยากรู้ว่าท่านทักษิณทำความเสียหายให้แก่รัฐจริงหรือไม่ ถ้าท่านทำความเสียหายต่อรัฐจริง ผมก็คงเลิกศรัทธาในตัวท่านเสียที หลังจากที่ค้นคว้าข้อเท็จจริงและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆแล้ว มันทำให้ผม รู้สึกเห็นใจท่านทักษิณเป็นอย่างมาก และยิ่งศรัทธาท่านเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

 

เปรียบเทียบ อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชี ของบริษัทต่างๆ

อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชี ก็คือเอาราคาตลาดของหุ้นมาเทียบกับมูลค่าหุ้นตามบัญชีต่อหุ้น เพื่อดูว่าราคาตลาดเป็นกี่เท่าของมูลค่าตามบัญชี

ราคาตลาดของหุ้น หมายถึง ราคาซื้อขายหุ้น (ของ 1 หุ้น) ในตลาดหลักทรัพย์ สำหรับมูลค่าหุ้นตามบัญชีต่อหุ้นได้อธิบายไปแล้วเมื่อวานซืน (29 มี.ค.55) ขอยกเอารายการสรุปย่อในงบดุล ณ สิ้นปี 50 ของปูนซิเมนต์ไทยมาแสดงอีกครั้ง สินทรัพย์ 130,967 ล้านบาท = หนี้สิน 95,794 ล้านบาท + ส่วนของผู้ถือหุ้น 35,173 ล้านบาท (ทุนที่ออกและชำระแล้ว 1,200 ล้านหุ้น)

มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น = 35,173 ล้านบาท ÷ 1,200 ล้านหุ้น = 29 บาท ตีความหมายได้ว่า ถือหุ้นไว้ 1 หุ้นจะมีเงินทุนอยู่ในบริษัท 29 บาท ถ้าสิ้นปี 50 หุ้นปูนซิเมนต์มีราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เท่ากับ 100 บาท ดังนั้น อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชีจะเท่ากับ 100 ÷ 29 = 3.4 เท่า

สมมติว่าต้นปีถัดไปราคาหุ้นเพิ่มเป็น 110 บาท เราก็ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไป อันนี้ไม่เกี่ยวกับบริษัทนะครับ เป็นเรื่องระหว่างเรากับคนที่ซื้อเท่านั้น บริษัทมีหน้าที่อย่างเดียว คือ เปลี่ยนรายชื่อผู้ถือหุ้นจากเราเป็นผู้ซื้อเท่านั้น ไม่มีผลต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชี ก็คือ ยังเป็น 29 บาทเท่าเดิม ไม่ได้มีผลกระทบกับฐานะการเงินของบริษัทแต่อย่างใด

คุณซื้อหุ้นไว้แล้ว คุณจะขายต่อให้ใครก็เป็นเรื่องของคุณ ไอ้ ที่เราเห็นมีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ วันละเป็นหมื่นๆล้านนั้น มันเป็นเงินจากกระเป๋าผู้ซื้อ วิ่งไปเข้ากระเป๋าผู้ขาย ไม่ได้วิ่งไปเข้าที่บริษัท ส่วนใหญ่จะถือหุ้นไว้ไม่นาน รอว่าราคาสูงขึ้นก็จะขายออกไป ซึ่งเป็นเรื่องของการเก็งกำไร แต่ถ้าซื้อแล้วถือไว้ยาวนานเลย อันนี้ถือเป็นการลงทุนในบริษัท

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลกระทบต่อการขึ้นลงของราคาหุ้น?? ถ้าจะตอบแบบง่ายๆก็คือ เมื่อจำนวนหุ้นที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ มีมากกว่า จำนวนหุ้นผู้ขายต้องการขาย ราคาหุ้นก็จะสูงขึ้น พูดง่ายๆก็คือ ซื้ออนาคต เพราะคาดหวังในอนาคตว่า จะได้รับเงินปันผลในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับการเอาเงินจำนวนนั้นไปลง ทุนอย่างอื่นๆ หรืออาจจะคาดว่าในวันต่อๆไป ราคาหุ้นจะสูงขึ้นกว่าราคาที่ซื้อมา เมื่อขายออกไปจะมีกำไร

ปัจจัยอะไรที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้น มีหลายอย่าง เช่น ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และผลการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ เป็นต้น ผล การดำเนินงานของบริษัทนั้น ถือว่ามีส่วนสำคัญมาก จะออกมาดีมีกำไรมากขนาดไหน ขึ้นอยู่ความสามารถของผู้บริหารบริษัทในการกำหนด ทิศทางของบริษัท กลยุทธ์ของบริษัท

การคำนวณหาอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชี ผมคำนวณหาเฉพาะของชินคอร์ป ไม่คำนวณของ AIS และ ชินแซท เพราะว่า AIS และ ชินแซท เป็นบริษัทย่อยของชินคอร์ป และหุ้นที่ตระกูลชินวัตร ถือและขายให้เทมาเสกคือหุ้นชินคอร์ป

ครอบครัวนายทักษิณขายหุ้นชินคอร์ปไปเมื่อเดือนมกราคมปี 2549 ผมจึงใช้ราคาหุ้นและมูลค่าตามบัญชี ณ วันสิ้นปี 2548 มาคำนวณหาอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชี (Price per Book Value; P/BV) เพื่อแสดงให้เห็นว่า ราคาหุ้นชินคอร์ปฯไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ (สถิติราคาหุ้นในอดีตที่สามารถค้นหาได้มีเฉพาะ ราคาเปิด-ปิด ราคาสูงสุด-ต่ำสุด ของปี)

ราคาหุ้นต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชี

ผลการดำเนินงานของบริษัทถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อราคาหุ้น ถ้าท่านลองย้อนไปดู ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่แสดงอยู่ในตารางที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามันเป็นไปในทางเดียวกันกับอันดับในตารางนี้ครับ

ใครที่ยังข้องใจว่าราคาหุ้นของชินคอร์ปฯขึ้นสูงอยู่บริษัทเดียว เห็นตัวเลขนี้แล้วคงจะหายข้องใจ

เมื่อครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นเมื่อเดือนมกราคมปี 49 ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท ผมไม่รู้ว่าก่อนการขาย ราคาหุ้นชินคอร์ปในตลาดหลักทรัพย์เป็นเท่าใด แต่ราคาสูงสุดในปี 2548 เท่ากับ 47.75 บาท (ปูนซิเมนต์ 272 บาท) คำถามก็คือ ทำไมผู้ซื้อหุ้นจึงยอมจ่ายถึง 49.25 บาท คำตอบก็คือ สิ่งที่ผมได้เขียนไปแล้ว “เพราะเขามองว่า บริษัทชินคอร์ปฯ มีศักยภาพที่จะเติบโตสูงในอนาคต” เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นับว่าจะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของคนทุกระดับชั้น ธุรกิจด้านนี้จึงมีอนาคตอีกยาวไกล นี่คือเหตุผลที่เขายอมจ่ายซื้อในราคาสูง ไม่ใช่นายกทักษิณที่ทำให้ราคาหุ้นขึ้นสูง มันไม่เกี่ยวกัน

ผมคำนวณค่า P/BV ให้ท่านเห็นเพื่อให้ทราบว่า ค่า P/BV ของชินคอร์ปไม่ได้สูงปี๊ดอยู่บริษัทเดียว ดังที่ผู้บิดเบือนทั้งหลายตั้งข้อกล่าวหา บางครั้งเราได้ยินพวกเกลียดทักษิณพูดเรื่องนี้ เราก็ไม่รู้จะโต้ตอบอย่างไร ผมจึงพยายามหาทางอธิบายให้ท่านเข้าใจได้ง่ายๆ เพื่อจะได้นำไปอธิบายให้คนที่ยังข้องใจอยู่ เพราะบางคนยังคลางแคลงใจในเรื่องพวกนี้อยู่ ข้อกล่าวเรื่องหุ้น เรื่องภาษี มันเป็นเรื่องที่ง่ายต่อการกล่าวหา แต่อยากในการอธิบายให้เข้าใจ ช่วยกันครับ พูดสั้นๆก็ได้

ชินคอร์ปฯ แค่ 3 เท่า แต่ปูนซิเมนต์ไทยสูงถึง 4 เท่าครึ่ง

ผมไม่ใช่นักเล่นหุ้น เลยไม่รู้ว่ามีหุ้นของบริษัทใดที่มีค่านี้สูงๆอีก เชื่อว่ามีอีกเยอะ ใน ปี 2546 หุ้นของปูนซิเมนต์ไทยมูลค่าตามบัญชี ณ วันสิ้นปี 29.3 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้น ณ วันสิ้นปี 254 บาทต่อหุ้น ดังนั้น ค่า P/BV ประมาณเกลือบ 9 เท่า (254 ÷ 29.3)

เมื่อพูดถึงเรื่องการขายหุ้น อดจะพูดถึงศาสดาเต็กซ์ลิ้มไม่ได้ เรื่องที่มันกล่าวนายกทักษิณตอนขายหุ้น ศาสดาเต็กซ์ลิ้มมันบอกว่า “ทักษิณมันแก้กฎหมายได้ 2 วัน มันก็ขายหุ้น” แล้วสาวกทั้งโขลงก็พร้อมใจกันอุทานว่า “เลวมาก” สิ่งที่ศาสดาเต็กซ์ลิ้มพูด มันเป็นเรื่องจริงแต่เปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน ทำให้ผู้ได้รับข้อมูลเข้าใจผิด ต้องยอมรับว่าเต็กซ์ลิ้มมันเก่งในเรื่องแบบนี้จริงๆ

การแก้ไขกฎหมายประกอบกิจการโทรคมนาคม เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2544 โดยบริษัทโทเท็ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ TAC (DTAC ในปัจจุบัน) บริษัทซีพีออเรนจ์ และ ทีทีแอนด์ที ร้องขอให้บริษัทต่างชาติถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบกิจการโทรคมนาคมได้มากกว่า 25% โดยใช้เวลานานถึง 4 ปี จึงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2549 และในวันที่ 23 มกราคม 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ได้ขายหุ้นของชินคอร์ปฯออกไปให้แก่เทมาเส็ก

เห็นมั๊ยครับว่าเต็กซ์ลิ้มมันเข้าใจยิบประเด็นมาโจมตี แก้ไขกฎหมายครั้งนั้นชินคอร์ปฯไม่ได้เป็นผู้ร้องขอ และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้อภิปรายคัดค้าน และ ก็ไม่ได้ลงมติคัดค้านการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ด้วย ตระกูลเบญจรงคกุลก็ขายหุ้น DTAC ให้กับต่างชาติ 38% เมื่อเดือนตุลาคม 2548 ก่อนการแก้ไขกฎหมายเสียด้วยซ้ำ เหล่านี้คือข้อเท็จจริงในอดีตที่เสื้อเหลืองฝูงใหญ่ยังไม่รู้ มันยังคงกินหญ้าอยู่เหมือนเดิม

อีกเรื่องหนึ่งที่อยากพูดถึงคือ เรื่องการขายหุ้นของครอบครัวชินวัตร ซึ่งคอลัมนิสต์คนหนึ่งในหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ เขียนว่า “ราคาหุ้น 1 บาท ขายในราคาหุ้นละ 49 บาท ถือว่ามีกำไรหุ้นละ 48 บาท จำนวน 1,500 ล้านหุ้น ต้องเสียภาษีประมาณ 27,000 ล้านบาท (48 × 1,500 ล้าน × 37%)” ผมนึกตำหนิในใจว่า “ไม่รู้จริง ยังเสือกแสดงความเห็นอีก โง่แล้วยังแสดงความสะเล่ออีก” นอกจากนี้ยังได้เคยอ่านความเห็นของคนหนึ่งในเว็บบอร์ด (ที่ใดจำไม่ได้) เขาบอกว่า “เขาขายก๋วยเตี๋ยว ยังเสียภาษีมากกว่าทักษิณเลย” บางคนบอกว่า “ทักษิณรับเงินปันผลก็ไม่เสียภาษี” เจ้ากระบือเหลืองเอ๋ย กินแต่หญ้า หัดกินอาหารของคนบ้าง จะได้เลิกโง่เสียที

คำพิพากษายึดทรัพย์

(หน้า 181)
“…จึงถือว่าประโยชน์จากราคาหุ้นชินคอร์ปส่วนที่เพิ่ม นับตั้งแต่วันก่อนผู้ถูกกล่าวหาจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวาระแรก 7 ก.พ.44 เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควรสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้ อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ เมื่อพิจารณาเอกสารหมาย ศ.7 ปรากฏว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในปี 44 นั้น ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้น 1,419 ล้านหุ้นคิดเป็นเงิน 30,247 กว่าล้านบาท อันถือเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองมีอยู่แต่เดิมและไม่อาจให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตามคำร้องของผู้ร้องได้…”

ถ้าสามารถใช้ตำแหน่งนายกทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นได้แสดงว่า ราคาหุ้นของชินคอร์ปต้องขึ้นสูงกว่าราคาหุ้นของบริษัทอื่นๆ 

ดูราคาหุ้นของกิจการต่างๆที่เพิ่มขี้นตามตารางด้านล่างเอาเองครับ

เปรียบเทียบอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นของบริษัทต่างๆ ต้นปี 45 กับ ต้นปี 49

สถิติการซื้อขายหลักทรัพย์ (Fact book) ใน https://www.set.or.th/ เท่าที่ค้นหาได้มีตั้งแต่ปี 2545 – 2550 เท่านั้น จุดเวลาแรกของการกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้แก่ AIS ก็คือ การลดค่าสัมปทานให้ AIS เหลือ 20% ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 ดังนั้น ถ้าเป็นไปตามข้อกล่าวหา ประโยชน์จึงเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2545 การใช้ราคาหุ้นต้นปี 2545 เปรียบเทียบกับราคาหุ้นต้นปี 2549 ถือว่ามีความสมเหตุสมผลพอสมควร (ไม่สามารถหาข้อมูลราคาหุ้นของบริษัทอื่นในวันที่นายกทักษิณขายหุ้นได้ จึงจำเป็นต้องใช้ราคาหุ้นตอนต้นปี 2549)

ความเห็นของศาลที่ผิดพลาด

ความเห็นศาลในคำพิพากษายึดทรัพย์ หน้า 122
….การได้รับสัญญาสัมปทานอนุญาตให้ดำเนินกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้ในช่วงระยะเวลาตามที่กำหนด ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าต้นทุนของการดำเนินการจะลดลงเป็นลำดับตามระยะเวลาของอายุของสัญญาสัมปทานที่ได้รับ และในขณะเดียวกันย่อมเป็นผลให้ได้มาซึ่งกำไรมากขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน………..

ตีความหมายเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจาก
เมื่อระยะเวลาผ่านไปเรื่อยๆ จากปีที่ 1 สู่ปีที่ 2 ……สู่ปีที่ 30 ….. ต้นทุนของการดำเนินการจะลดลงไปเรื่อยๆ

ข้อเท็จจริง
การบัญชีต้นทุนจำแนกต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน (Cost Behavior) เป็น 2 รายการใหญ่คือ ต้นทุนผันแปร (Variable Costs) และ ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs)

ต้นทุนผันแปรจะเปลี่ยน แปลงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณกิจกรรม (Activity Level) เช่น ค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ จะเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้ค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้น และจะลดลงเมื่อรายได้ค่าโทรศัพท์ลดลง

ต้นทุนคงที่จะยังคง เท่าเดิมในงวดเวลาและช่วงปริมาณกิจกรรมที่กำหนด (Relevant Range) เมื่องวดเวลาหรือช่วงกิจกรรมเปลี่ยนไปต้นทุนประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เงินเดือนในแต่ละเดือนในปี 51 เท่ากับ 20 ล้านบาท ไม่ว่ารายได้ค่าโทรศัพท์ในแต่ละเดือนจะเพิ่มขึ้นหรือลงก็ตาม เงินเดือนในแต่ละเดือนก็ยังคงเท่ากับ 20 ล้านบาท และเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นในงวดเวลาถัดไป เช่น ในปี 52 เงินเดือนเพิ่มเป็น 21 ล้านบาท

ดูของจริงเอาเองครับว่า ต้นทุนลดลงหรือไม่

รายได้และต้นทุนของ AIS, DTAC, TRUE

จากตัวเลขในตารางจะเห็นได้ชัดว่า เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น และ เมื่อรายได้ลดลง ต้นทุนจะลดลง ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นของศาล

ความเห็นศาลในคำพิพากษายึดทรัพย์ หน้า 151
….และการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลงประมาณร้อยละ 11 ดังกล่าวย่อมเป็นผลให้ บริษัทชินคอร์ปฯได้รับเงินทุนคืนจากการโอนขายหุ้น บริษัทชินคอร์ปจำนวนดังกล่าวออกไปให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่นด้วย……..

ข้อเท็จจริง
เดิมบริษัทชินคอร์ปฯ ถือหุ้นในบริษัทชินแซทฯ (ไทยคม) ประมาณ 52% เมื่อบริษัทชินแซทฯ ขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยแล้ว ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปในบริษัทชินแซทลดลงเหลือประมาณ 41% ไม่ได้หมายความว่าชินคอร์ปฯขายหุ้นที่ตนเองถืออยู่ให้ผู้อื่น 11% แล้วได้รับเงินทุนคืนจากการโอนขายหุ้น แต่เป็นเรื่องของการนำหุ้นออกจำหน่ายเพิ่มเติมให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่น

ยกตัวอย่างง่ายแบบนี้ครับ นาย ก. และ นาย ข. ร่วมกันลงทุนทำธุรกิจคนละ 10,000 บาท แบบนี้กล่าวได้ว่ามีสัดส่วนในการถือหุ้นคนละ 50% ต่อมาเงินทุนไม่พอจึงไปชวน นาย ค. มาร่วมลงทุนด้วย โดยให้นาย ค. ลงทุน 10,000 บาท เพราะฉะนั้นเงินลงทุนของธุรกิจจะมีเท่ากับ 30,000 บาท ดังนั้น สัดส่วนการถือหุ้นของนาย ก. หรือ นาย ข. จะลดลงจาก 50% เหลือ 33.3% นาย ก. หรือ นาย ข. ไม่ได้รับเงินทุนคืนแต่อย่างใด

ตัวเลขของจริง

สัดส่วนการถือหุ้นของชินคอร์ปในชินแซท

จำนวนหุ้นของชินแซทที่บริษัทชินคอร์ปฯ ถืออยู่ยังคงเท่าเดิม ดังนั้น ความเห็นของศาลที่วา บริษัทชินคอร์ปฯได้รับเงินทุนคืนจากการโอนขายหุ้น จึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

คำพิพากษามีความยาวมากเกือบ 200 หน้า เท่าที่จำได้มีความผิดพาดอีกหลายประเด็น จาก 2 ประเด็นที่นำมาแสดงชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความเห็นของศาลผิด ไม่สามารถที่จะโต้แย้งได้ ส่วนใหญ่ความเห็นทางด้านการเมืองหรือทางกฎหมาย บางครั้งไม่สามารถบอกได้ว่า ความเห็นของผู้ใดถูก ความเห็นของผู้ใดผิด เพราะไม่มีตัวชี้วัดความถูกผิด

ผมมีความเห็นโดยสุจริตว่า นักกฎหมายของไทยส่วนใหญ่มีความรู้ศาสตร์ด้านอื่นๆ (นอกเหนือจากกฎหมาย) ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับนักกฎหมายแถบอเมริกาหรือยุโรป ทำให้การตัดสินคดีความต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านอื่นๆ มีความผิดเพี้ยน บกพร่องเกิดขึ้น

คดีความต่างๆในอดีตเป็นเป็นเรื่องพื้นๆแบบชาวบ้าน แต่เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและแผ่ขยายไปทั่ว ทุกมุมโลก ทำให้คดีความต่างๆมันมีเรื่องของศาสตร์อื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ เภสัช แพทย์ศาสตร์ การบัญชี และ การเงิน เป็นต้น

ผมมีความเห็นโดยสุจริตใจว่า ผู้ตัดสินคดีความต่างๆจะต้องมีความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับคดี ความนั้นด้วย ไม่ใช่พิจารณาในข้อกฎหมายอย่างเดียว การ ขาดความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับคดีความนั้น อาจจะทำให้การตัดสินคดีความต่างๆมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ แม้ผู้ตัดสินคดีจะมีความเที่ยงตรงหรือเที่ยงธรรมก็ตาม

ถึงเวลาหรือยังที่ประเทศไทยจะใช้ระบบการพิจารณาคดีในศาล ใช้ระบบลูกขุน

การพิจารณาคดีในศาลไทย ใช้ระบบลูกขุน https://ilaw.or.th/node/159

 

...............................

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ทักษิณขายหุ้น VS ลุงที่เชียงรายขายทองคำ
ทักษิณแปรรูปรัฐวิสาหกิจ “ ขายชาติ ชาติจะหายนะ ” จริงหรือ ??? 

สารบัญบล็อก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น