วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

สถิติผู้ใช้ Facebook ในไทย

สารบัญบล็อก

สถิติผู้ใช้ Facebook ในไทย
ปี
2008
2009
2010
2011
2012
2013
จำนวนผู้ใช้ (ล้านราย)
0.17
1.96
6.73
13.28
17.47
18.20
ลำดับในโลก
27
23
21
16
15
13
จำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน (%)

1,063.80
242.89
97.18
31.60
4.18
ยอดจำนวนผู้ใช้ ปี 2008 - 2011 (สิ้นปี)   ปี 2012 (29 ต.ค.)   ปี 2013 (22 ก.พ.)

Facebook Users (22/02/2013)
Rank
Country
Millions
1
United States
163.07
2
Brazil
66.55
3
India
61.50
4
Indonesia
47.17
5
Mexico
39.95
6
Turkey
32.44
7
United Kingdom
32.18
8
Philippines
30.09
9
France
25.31
10
Germany
25.06
11
Italy
23.03
12
Argentina
20.40
13
Thailand
18.20
14
Canada
18.00
15
Colombia
17.69

ที่มาของข้อมูล >>>    ปี 2008 - 2011     ปี 2012     ปี 2013

ผู้ใช้ในไทยปี 2013 (22 ก.พ.) 18.20 ล้านราย แยกเป็นผู้ชาย 49% ผู้หญิง 51%
อายุ 18-24 ปีใช้มากที่สุด (5,96 ล้านราย) คิดเป็น 33% ของจำนวนผู้ใช้ในไทยทั้งหมด 
รองลงมาอายุ 25-34 ปี

อันดับหนึ่งในแต่ละประเภท (วัดจากจำนวนแฟน)
Page  
Facebook for Every Phone
Brands 
ICHITAN
Celebrities 
ตัน ภาสกรนที
Entertainment 
แฮปปี้คนเลี้ยงหมู
Media  
อัพยิ้มดอทคอมบริการเติมรอยยิ้ม 24 ชม.
Politics  
Abhisit Vejjajiva
Sports 
Manchester United
Places  
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อันนี้วัดจาก Checkins)



ภาพแสดงอันดับ 1 - 5 ในแต่ละประเภท (คลิกที่ภาพใดก็ได้ เพื่อเข้าไปดูที่ socialbakers)


















สารบัญบล็อก

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

เครดิตภาษีเงินปันผล >>> รับค่าภาษีคืน

สารบัญบล็อก

เรื่องนี้เคยเขียนไว้ที่เว็บบอร์ดของ prachatalk.com เมื่อวันที่ 26/12/2012

เครดิตภาษีเงินปันผล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทต่างๆจ่ายให้กับรัฐ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้ถือหุ้นต้องจ่ายให้รัฐ อันเนื่องมาจากได้รับเงินปันผลจากบริษัท เพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่าย ขอลำดับเรื่องราวเป็นข้อๆ เริ่มต้นด้วยแนวคิดก่อน แล้วค่อยต่อด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ
  1. บุคคลธรรมดานำเงินไปลงทุนในบริษัท (เช่น จ่ายเงินซื้อหุ้น 1 หุ้นราคา 100 บาท เรียกผู้ซื้อหุ้นว่า ผู้ถือหุ้น)
  2. บริษัทนำเงินทุนที่ได้จากผู้ถือหุ้นไปทำการค้าขายเกิดกำไร
  3. กำไรของบริษัทก็คือกำไรของผู้ถือหุ้น พูดง่ายๆแบบชาวบ้านก็คือเป็นเงินได้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง
  4. เมื่อมีกำไรบริษัทต้องจ่ายภาษีให้รัฐ (ภาษีเงินได้นิติบุคคล) ก็เท่ากับว่า ผู้ถือหุ้นจ่ายภาษีเงินได้ให้รัฐผ่านทางบริษัทนั่นเอง
  5. กำไรที่เหลืออยู่หลังจากที่บริษัทจ่ายภาษีไปแล้ว ก็จะนำไปจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งเรียกว่าเงินปันผล
  6. เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นรายได้ของผู้ถือหุ้น ดังนั้นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทจ่ายภาษีให้รัฐคือ 30% ของกำไร และ ตอนที่จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น บริษัทจะหักภาษีไว้อีกในอัตรา 10% ของเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายให้ผู้ถือหุ้น (เรียกว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย)

ดังนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ก็คือ ภาษีที่ผู้เงินได้ (ผู้ถือหุ้น) ได้จ่ายให้แก่รัฐไปแล้วในระหว่างปีนั่นเอง ซึ่งเมื่อถึงสิ้นปีผู้มีเงินได้ (ผู้ถือหุ้น) ก็จะคำนวณว่าต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้รู้ว่า ต้องจ่ายภาษีให้รัฐเพิ่ม หรือ ขอเงินค่าภาษีคืนจากรัฐ

ทั้ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ถือเป็นรายการที่เรียกว่า เครดิตภาษี (Tax Credits) ซึ่งจะนำไปหักจากยอดภาษีที่ต้องจ่ายให้รัฐตอนสิ้นปี

หมายเหตุ แม้ว่าในปี 2555 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจะลดลงเหลือ 23% แล้วก็ตาม แต่จะใช้ตัวเลข 30% อธิบายไปก่อน แล้วค่อยไปพูดกันต่อว่า 23% มันทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

บริษัทจ่ายภาษีให้รัฐ 30% ของกำไร และ บริษัทจะหักภาษีจากเงินปันผลไว้อีก 10% ของเงินปันผลที่ประกาศจ่าย

คำถามก็คือ ทำไมสรรพากรจึงกำหนดให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 10%

ไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงเหมือนกัน เพราะตอนเรียน อาจารย์ก็ไม่ได้บอกเหตุผลไว้และในตำราเรียนก็ไม่ได้กล่าวถึง ผมสันนิษฐานว่า สรรพากรต้องการได้รับภาษีจากผู้รับเงินปันผลมาเก็บไว้ก่อนจำนวน 37% (อัตราภาษีระดับสูงสุดของบุคคลธรรมดา ก็คือ ระดับเศรษฐี) เพราะผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทนี้สามารถเลือกได้ว่าจะนำเอาเงินปันผลที่ไดัรับมารวมกับเงินได้ประเภทอื่น เพื่อคำนวณภาษีในอัตราก้าวหน้าหรือไม่ก็ได้

ถึงตรงนี้หลายคงเริ่มงงแล้วว่า ไอ้ที่ได้เสียไปแล้วนั้นมันคือ 30% บวก 10% เป็น 40% นี่หน่า ซึ่งเกินกว่าระดับภาษีสูงสุดไป 3% อย่าลืมว่า 30% คำนวณจากกำไรก่อนหักภาษี แต่ 10% คำนวณจากกำไรหลังหักภาษี เพราะฉะนั้น คำนวณจากคนละฐานกัน จะนำเอามาบวกกันไม่ได้ จะนำมาบวกกันได้ก็ต่อเมื่อ ต้องปรับให้เป็นฐานเดียวกันก่อน

เนื่องจากเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาเป็นรายได้ก่อนหักภาษี ดังนั้น การปรับให้เป็นฐานเดียวกัน จึงต้องปรับอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากกำไรหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เป็นเปอร์เซ็นต์จากกำไรก่อนหักภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลที่ประกาศจ่าย และเงินปันผลที่นำมาประกาศจ่ายก็คือ กำไรหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว 30% ดังนั้น เงินปันผลที่นำมาประกาศจ่ายจึงเท่ากับ 70% ของกำไรก่อนหักภาษีเงินได้นิติบุคคลนั่นเอง

10% ของเงินปันผลที่ประกาศจ่าย จึงเท่ากับ 7% ของกำไรก่อนหักภาษีเงินได้นิติบุคคล (10% คูณ 70% ของกำไรก่อนหักภาษีเงินได้นิติบุคคล) ที่นี้รวมกันได้แล้ว 30% + 7% = 37% ของกำไรก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล

ถ้ายังงงดูตัวอย่างนี้อีกที
สิ้นปี 2554 บริษัทแห่งหนึ่งมีกำไร 100 บาทต่อหุ้น จ่ายภาษีให้รัฐ 30 บาทต่อหุ้น ที่เหลืออีก 70 บาทนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลให้ผู้หุ้นทั้งหมด (ปกติบริษัทจะไม่นำส่วนที่เหลือมาจ่ายทั้งหมด เพราะจำเป็นต้องกันไว้เพื่อการต่างๆ เช่น ขยายกำลังการผลิต) บริษัทจะหักภาษีไว้อีก 7 บาท (10% ของ 70 บาท) ดังนั้น รับเงินปันผลเท่ากับ 63 บาทต่อหุ้น

สรุป ผุ้ถือหุ้นมีรายได้ 100 บาท ระหว่างปีจ่ายภาษีให้รัฐไปแล้ว 37 บาท (จ่ายในอัตรา 37%)

ดังนั้น ผู้ถือหุ้นที่มีเงินได้สุทธิต่ำกว่า 4 ล้านบาท (เสียภาษีต่ำกว่า 37%) ถูกหักภาษีไว้จำนวน 37% ควรเลือกนำเอาเงินปันผลมาคำนวณเพื่อเสียเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้าตอนสิ้นปี แล้วผู้ถือหุ้นท่านนั้นจะไดรับเงินค่าภาษีคืนจากรัฐ

การคำนวณรายได้พึงประเมินจากเงินปันผลที่จะได้รับจากบริษัท เพื่อนำไปคำนวณภาษีตอนสิ้นปี คำนวณได้ง่ายๆดังนี้
เงินได้พึงประเมิน = เงินปันผลที่ได้รับ (ก่อนหัก 10%) หารด้วย 0.7
(จะกล่าวในรายละเอียดอีกครั้ง)

ตัวอย่าง
สมมติว่าท่านเป็นคนโสดมีเงินเก็บอยู่ก้อนหนึ่งจำนวน 4 ล้านบาท เหม็นหน้าเจ้านายเลยลาออกจากงาน และไม่คิดจะหางานใหม่ทำ แต่จะใช้เวลาว่างเข้าเว็บประชาทอล์คทุกวัน เลยเอาเงินไปซื้อหุ้นปูนฯ 10,000 หุ้น (3,130,000 บาท) ส่วนที่เหลือฝากธนาคาร เป็นอันว่าท่านมีรายได้อย่างเดียวคือเงินปันผล เอาเป็นว่าบริษัทปูนฯประกาศจ่ายปันผลหุ้นละ 12.50 บาท (เป็นเงิน 125,000 บาท)

เงินได้พึงประเมินของท่าน = 125,000 บาท ÷ 0.7 = 178,571 บาท (กำไรของบริษัทก่อนหักภาษีเงินได้นิติบุคคลนั่นเอง) หักลดย่อนส่วนตัว 30,000 บาท เหลือเงินได้พึงประเมินที่จะนำไปคิดภาษี 148,571 บาท
150,000 บาทแรกได้รับการยกเว้นภาษี คือ ไม่ต้องเสียภาษี

นั่นหมายความว่า ท่านจะได้รับค่าภาษีคือจากรัฐ (เครดิตภาษี ซึ่งก็คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย)

เพราะท่านได้รับเงินปันผลมาแค่ 112,500 บาท (125,000 บาท ถูกหัก 10%) แต่เงินได้พึงประเมินของท่านคือ 178,571 บาทซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นท่านจะได้รับเงินค่าภาษีคืนจำนวน 66,071 บาท (178,571 บาท – 112,500 บาท)

เงินค่าภาษีที่จะได้รับคืน 66,071 บาทประกอบด้วย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จำนวน 12,500 บาท และอีก 53,571 บาท (66,071 บาท – 12,500 บาท) ก็คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทจ่ายให้รัฐ (เรียกว่า เครดิตภาษีเงินปันผล)

ที่คำนวณให้ดูผ่านมานั้นเป็นวิธีคิด ไปดูวิธีการกรอกภาษีกัน

การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้าตอนสิ้นปี จะต้องคำนวณหาตัวเลขเครดิตภาษีเงินปันผล
เครดิตภาษีเงินปันผล = (เงินปันผลที่ได้รับ × อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล) ÷ (100 – อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล)
เงินปันผลที่ได้รับ หมายถึง จำนวนเงินปันผลก่อนที่จะหักภาษี 10%

เงินปันผลที่ได้รับ 125,000 บาท หัก ภาษี 12,500 บาท (10% × 125,000 บาท) ได้รับเงินปันผลสุทธิ 112,500 บาท เครดิตภาษีเงินปันผล = ( 125,000 × 30 ) ÷ ( 100 – 30 ) = 53,571 บาท



รับเงินปันผลสุทธิ 112,500 บาท รับค่าภาษีคืน 66,071 บาท
เท่ากับว่า มีรายได้จากเงินปันผลรวม 178,571 บาท

สรุปเพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
เงินได้พึงประเมินของผู้ถือหุ้น = เงินปันผลที่ได้รับ + เครดิภาษีเงินปันผล (ซึ่งก็คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล)
หรือ
เงินได้พึงประเมินของผู้ถือหุ้น = กำไรของบริษัทก่อนจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล (เฉพาะส่วนที่นำมาจ่ายเงินปันผล)
เป็นไปตามกล่าวไว้เบื้องต้น (ข้อ 3) ที่ว่า
กำไรของบริษัทก็คือกำไรของผู้ถือหุ้น พูดง่ายๆแบบชาวบ้านก็คือเป็นเงินได้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลใหม่ (23%) กับ อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผล

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับปี 2555 ลดจาก 30% เหลือ 23% อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลยังคงหักในอัตรา 10% เช่นเดิม ถือหุ้นที่มีเงินได้ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไปและเลือกเสียภาษีโดยวิธีหัก ณ ที่จ่าย (ไม่นำเงินปันผลมาคำนวณภาษีตอนสิ้นปี) แฮปปี้กันตามๆไป สรรพากรเกิดอาการลืมกันทั้งกรมหรือเปล่า เชื่อว่าปีหน้าคงจะเพิ่มอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลเป็นแน่นอน ถ้ายังคงหักในอัตราเดิมคือ 10% ก็นับว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อทีเดียว

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผล 10% อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระดับสูงสุด 37% อัตราดังกล่าวใช้มาเป็นเวลานาน ซึ่งผมได้สันนิษฐานว่าเหตุที่สรรพากรกำหนดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลไว้ที่ 10% เพื่อจะเก็บภาษีจากผู้ถือหุ้นไว้ก่อนให้เต็มเพดานสูงสุดของบุคคลธรรมดาคือ 37%

ปี 2555
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 23% อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระดับสูงสุด 37% (ประกาศลดเหลือ 35% ตอนสิ้นปี) สรรพากรควรกำหนดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลที่อัตรา 18.18% ของเงินปันผลที่ประกาศจ่าย
วิธีคิด
หักภาษีผ่านบริษัทในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคล 23% เหลือเป็นกำไรหลังหักภาษี 77% (ก็คือส่วนของเงินปันผลนั่นเอง) เมื่อสรรพากรเก็บภาษีไปแล้ว 23% ต้องเก็บเพิ่มอีก 14% เพื่อให้ได้ยอด 37% นั้นก็คือ ต้องหักอีก 14 จากยอด 77 เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะได้เท่ากับ 18.18% (14 ÷ 77 x 100)

ปี 2556
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 20% อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระดับสูงสุด 35%
สรรพากรควรกำหนดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลที่อัตรา 18.75% ของเงินปันผลที่ประกาศจ่าย (15 หารด้วย 80 เท่ากับ 18.75%)

ปัญหาในการคำนวณหาเครดิตภาษีเงินปันผล เมื่อลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

โดยทั่วไปบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จะจ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง (อาจมีบางบริษัทจ่ายปีละ 4 ครั้งก็คือจ่ายไตรมาสละครั้ง) ครั้งแรกเรียกว่า เงินปันผลระหว่างกาล ครั้งที่สองเรียกว่า เงินปันผลงวดสุดท้าย ครั้งแรกจะจ่ายหลังจากที่ได้มีการคำนวณกำไรของระยะเวลาครึ่งปีแรกไปแล้ว (ปิดบัญชีครึ่งปี ก็คือ วันที่ 30 มิ.ย.) ครั้งที่สองจะจ่ายหลังจากปิดบัญชีตอนสิ้นปีไปแล้ว (ก็คือตอนต้นปีถัดไป)

เมื่อมีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ปี 2555 ลดลงเหลือ 23% และปี 2556 ลดลงเหลือ 20% มีผลให้การคำนวณหาเครดิตภาษีเงินปันผลของเงินปันผลระหว่างกาลกับเงินปันผลงวดสุดท้ายต่างกัน เช่น ปี 2555 รับเงินปันผลครั้งแรกในเดือนมีนาคม 70,000 บาท (เป็นเงินปันผลงวดสุดท้ายของปี 2554 ซึ่งบริษัทเสียภาษีในอัตรา 30%) รับเงินปันผลครั้งที่สองในเดือนกันยายน 105,000 บาท (เป็นเงินปันผลระหว่างกาลของปี 2555 ซึ่งบริษัทเสียภาษีในอัตรา 23%)

การคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผลสำหรับปี 2555 (ยื่นแบบต้นปี 2556)
ก้อนแรก = ( 70,000 × 30 ) ÷ ( 100 – 30 ) = 30,000 บาท
ก้อนที่สอง = ( 154,000 × 23 ) ÷ ( 100 – 23 ) = 46,000 บาท
อันนี้เป็นวิธีคิดตามหลักการนะครับ (ไม่รู้ว่าสรรพากรจะวางแนวปฏิบัติเช่นใด)

หมายเหตุ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นกรณีทั่วไป ซึ่งเสียในอัตรา 30% (ก่อนปี 2555) ; 23% ในปี 2555 และ 20% ในปี 2556 ยังมีกรณีอื่นอีกที่เสียในอัตราแตกต่างจากข้างต้น เช่น 10% และ 15%

ทำไมสรรพากรยังไม่ปรับอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผล

เมื่อวิเคราะห์ลึกลงไปแล้วสรรพากรอาจจะใช้อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลในอัตราเดิม (10%) ไปสักระยะหนึ่ง เช่น 5 ปี แล้วจึงค่อยเพิ่มอัตรา เพราะก่อนที่จะมีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ยอดกำไรสะสมของบริษัทต่างๆมีจำนวนมาก (กำไรสะสม หมายถึง ยอดรวมของกำไรหักเงินปันผลที่จ่ายตั้งแต่เปิดบริษัทจนถึงปัจจุบัน) ซึ่งเป็นกำไรหลังหักภาษีในอัตราเดิมคือ 30%

การจ่ายเงินปันผลในปีต่อๆมาที่มีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือว่าเป็นการจ่ายเงินปันผลจากกำไรก้อนเก่า ถ้าเป็นแบบนี้ภาษาบัญชีเรียกว่า จ่ายเงินปันผลแบบ First-in, First-out (FIFO) หรือ เข้าก่อน-ออกก่อน ซึ่งเป็นวิธีบันทึกต้นทุนของสินค้าที่ซื้อเข้ามาและขายออกไป เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน ขอยกตัวอย่างแบบนี้ก็แล้วกัน

เมื่อสิ้นปี 2554 บริษัทมีกำไรสะสม 100,000 ล้านบาท จ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2554 จำนวน 10,000 ล้านบาท จะเหลือกำไรสะสม 90,000 ล้านบาท (เป็นกำไรหลังจากหักภาษีไปแล้ว 30%) ต่อมาในปี 2555 กำไร 20,000 ล้านบาท หักภาษี 4,600 ล้านบาท (23%) เหลือ 15,400 ล้านบาท

เพราะฉะนั้น กำไรสะสมจะประกอบด้วย 2 จำนวนที่มีความต่างกันคือ
จำนวน 90,000 ล้านบาท (เป็นกำไรหลังจากหักภาษีไปแล้ว 30%)
จำนวน 15,400 ล้านบาท (เป็นกำไรหลังจากหักภาษีไปแล้ว 23%)
ยอดรวมของกำไรสะสมทั้งสองจำนวนคือ 105,400 ล้านบาท

สมมติต่อไปว่า จ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2555 จำนวน 10,000 ล้านบาท เมื่อถือว่าเป็นการจ่ายเงินปันผลจากกำไรก้อนเก่า (90,000 ล้านบาท) ฉะนั้น การหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลที่อัตราเดิมคือ 10% แสดงว่าผู้ถือหุ้นได้จ่ายภาษีระหว่างปีไปแล้วในอัตรา 37% (อัตราสูงสุดเดิม)

ท่านประธาน ถ้าสรรพกรใช้แนวคิดแบบนี้ กระโผม ขอถอนคำพูดเดิม นะครับท่าน
“สรรพากรเกิดอาการลืมกันทั้งกรมหรือเปล่า” “ถ้ายังคงหักในอัตราเดิมคือ 10% ก็นับว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อทีเดียว” “การยังคงใช้อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ผู้ที่แฮปปี้มากๆคือ ผู้เงินได้ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไปและเลือกเสียภาษีจากเงินปันผลโดยวิธีหัก ณ ที่จ่าย”

ถ้าใช้แนวคิดแบบนี้จริงๆ คงวุ่นวายชะมัดเลย ทำได้อยากในทางปฏิบัติ

ไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะก่อความยุ่งยากให้สรรพากรหรือไม่ ผู้เงินได้ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไปถือหุ้นในบริษัทที่มีกำไรสะสมอยู่มโหฬาร (เช่น บริษัทปูนฯเมื่อสิ้นปี 2554 มีกำไรสะสมอยู่กว่า 100,000 ล้านบาท จ่ายปันผลปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท) จะอ้างสิทธิว่าเงินปันผลที่ได้รับมาจากกำไรก้อนเก่า (เสียภาษี 30%) ไปเรื่อยๆ จนกว่ากำไรสะสมก้อนเก่าจะหมด (ถ้าของบริษัทปูนฯก็ประมาณ 10 ปี)

แล้วก็อ้างสิทธิต่ออีกว่า ข้าพเจ้าถูกหักภาษีไป 37% ตอนนี้เหลือ 35% ขอคืน 2% สรรพากรก็อาจจะแย้งว่า ก็กำไรสะสมก้อนเก่าเป็นรายได้ของผู้ถือหุ้นที่เกิดขึ้นในปีที่อัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมระดับสูงสุดอยู่ที่ 37%

รอดูกันต่อไปว่าสรรพากรจะใช้แนวทางแบบไหน อาจจะมีแนวทางอื่นที่ต่างไปจากที่ผมแสดงความเห็น

สารบัญบล็อก

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

เปรียบเทียบการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราเดิม vs อัตราใหม่

สารบัญบล็อก

เรื่องนี้เคยเขียนที่เว็บไซต์ Prachatalk.com เมื่อ 25/12/2012

เงินได้สุทธิ (บาท)

อัตราภาษี (%)
ภาษีที่เสียลดลงต่อปี (บาท)

เดิม
ใหม่
1 - 150,000
ได้รับการยกเว้น
ได้รับการยกเว้น

150,001 - 300,000
10
5
7,500
300,001 - 500,000
10
10

500,001 - 750,000
20
15
12,500
750,001 - 1,000,000
20
20

1,000,001 - 2,000,000
30
25
50,000
2,000,001 - 4,000,000
30
30

4,000,000 ขึ้นไป
37
35
2% ของส่วนที่เกิน 4 ล้านบาท

เงินได้สุทธิ หมายถึง เงินได้พึงประเมิน (เช่น เงินเดือน ฯ) หัก ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ

ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการลดอัตราการจัดเก็บภาษีสำหรับเพดานสูงสุด (4 ล้านบาทขึ้นไป) ลง 2% ผมว่าถ้ารัฐบาลยังคงจัดเก็บที่อัตรา 37% เช่นเดิม ก็คงไม่มีเศรษฐีคนไหนมาต่อว่ารัฐบาล สองมาตรฐาน หรอก เพราะได้รับการลดภาระภาษีเช่นกันคือปีละ 70,000 บาท

คนโสดมีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว
เงินเดือน 30,000 บาท เสียภาษีลดลงปีละ 6,000 บาท
เงินเดือน 50,000 บาท เสียภาษีลดลงปีละ 8,000 บาท
เงินเดือน 70,000 บาท เสียภาษีลดลงปีละ 20,000 บาท
เสียภาษีที่ลดลงต่อปี คำนวณขึ้นตามข้อสมมติ "เงินเดือนของผู้มีเงินได้ในปี 2556 เท่ากับเงินเดือนในปี 2555 (ไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน)"

อัตราภาษีใหม่นำมาใช้สำหรับรายได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นในปี 2556 (ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีช่วงต้นปี 2557) สำหรับรายได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นในปี 2555 (ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีช่วงต้นปี 2556) ยังคงใช้อัตราเดิม

แยกยื่นภาษี-รวมยื่นภาษี สำหรับสามีภรรยา

แยกยื่นภาษี สามีภรรยาจะเสียภาษีน้อยกว่ารวมยื่นเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อรวมยื่นภาษี เงินได้สุทธิของภรรยาจะไปต่อยอดของสามี มีผลทำให้ไต่ไปสู่ระดับอัตราภาษีที่สูงขึ้น

ยกตัวอย่างก็แล้วกันเพื่อจะเห็นได้ชัดเจน สามีและภรรยาคู่หนึ่งต่างมีเงินเดือนคนละ 70,000 บาทไม่มีบุตรและพ่อแม่ที่ต้องอุปการะ (สามีภรรยาคู่นี้จะมีเงินได้สุทธิคนละ 750,000 บาท)

ใช้อัตราภาษีเดิมคำนวณภาษีได้ดังนี้


เงินได้สุทธิ (บาท)


อัตราภาษี (%)

ภาษีที่เสียเมื่อแยกยื่น
สามี
ภรรยา
1 - 150,000
5
ได้รับการยกเว้น
ได้รับการยกเว้น
150,001 - 500,000
10
35,000
35,000
500,001 – 1,000,000

20

50,000
(250,000 * 20%)
50,000
(250,000 * 20%)
1,000,001 – 2,000,000
30


กรณีแยกยื่น สามีและภรรยาคู่นี้จะเสียภาษีรวม 170,000 บาท (คนละ 85,000 บาท)
กรณีรวมยื่น เงินได้สุทธิ 250,000 บาท (จาก 750,000 บาท) ของภรรยาจะมาต่อยอดของสามี
เสียภาษีที่ 20% ก็คือ 50,000 บาท และอีก 500,000 บาท (จาก 750,000 บาท) ของภรรยา
จะไต่ยอดขึ้นไปเสียที่ระดับ 30% ก็คือ 150,000 บาท รวมในส่วนของภรรยาที่ต้องเสียภาษี
200,000 บาท นั่นคือ เสียมากกว่าการแยกยื่น 115,000 บาท (200,000 บาท – 85,000 บาท)


ใช้อัตราภาษีใหม่คำนวณภาษีได้ดังนี้


เงินได้สุทธิ (บาท)


อัตราภาษี (%)

ภาษีที่เสียเมื่อแยกยื่น
สามี
ภรรยา
1 - 150,000
5
ได้รับการยกเว้น
ได้รับการยกเว้น
150,001 - 300,000
5
7,500
7,500
300,001 - 500,000
10
20,000
20,000
500,001 – 750,000
15
37,500
37,500
750,001 – 1,000,000
20


1,000,001 – 2,000,000
25


กรณีแยกยื่น สามีและภรรยาคู่นี้จะเสียภาษีรวม 130,000 บาท (คนละ 65,000 บาท)
กรณีรวมยื่น เงินได้สุทธิ 250,000 บาท (จาก 750,000 บาท) ของภรรยาจะมาต่อยอดของสามี
เสียภาษีที่ 20% ก็คือ 50,000 บาท และอีก 500,000 บาท (จาก 750,000 บาท) ของภรรยา
จะไต่ยอดขึ้นไปเสียที่ระดับ 25% ก็คือ 125,000 บาท รวมในส่วนของภรรยาที่ต้องเสียภาษี
175,000 บาท นั่นคือ เสียมากกว่าการแยกยื่น 110,000 บาท (175,000 บาท – 65,000 บาท)


สรุป เพื่อเปรียเทียบ : แยกยื่นภาษี vs รวมยื่นภาษี และ อัตราภาษีเดิม vs อัตราภาษีใหม่
สำหรับสามีและภรรยาคู่หนึ่งซึ่งต่างมีเงินเดือนคนละ 70,000 บาทไม่มีบุตรและพ่อแม่ที่ต้องอุปการะ

รายการ
อัตราภาษีเดิม
อัตราภาษีใหม่
ผลต่างภาษี
แยกยื่นภาษี
170,000 บาท
130,000 บาท
40,000 บาท
รวมยื่นภาษี
285,000 บาท
240,000 บาท
45,000 บาท
แยกยื่นเสียภาษีน้อยกว่า
115,000 บาท
110,000 บาท
  5,000 บาท

สารบัญบล็อก