วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของนักการเมือง

สารบัญบล็อก

จุดประสงค์ที่ให้นักการเมืองแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน ก็เพื่อตรวจสอบว่านักการเมืองร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินสุทธิ (ทรัพย์สินสุทธิ = ยอดรวมของทรัพย์สิน หัก ยอดรวมของหนี้สิน) ทรัพย์สิน เช่น เงินสดและเงินฝากธนาคาร บ้านและที่ดิน รถยนต์ และ เครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

ถ้าทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้นทุกๆปีแสดงว่ารวยขึ้น ถ้าลดลงแสดงว่าจนลง (การที่จะดูว่าฐานะทางการเงิน ร่ำรวยขึ้นหรือยากจนลง จะดูจากทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูที่หนี้สินด้วย)

ถ้าทรัพย์สินสุทธิ เพิ่มขึ้นมากกว่า รายได้สุทธิ (รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย) แสดงว่าร่ำรวยผิดปกติ รายได้ เช่น เงินเดือน เงินปันผล เป็นต้น รายการที่ไม่จัดเป็นรายได้ เช่น เงินที่ได้รับชำระจากลูกหนี้ (เป็นรายรับ แต่ไม่ใช่ รายได้) รายการที่ไม่จัดเป็นค่าใช้จ่าย เช่น จ่ายเงินซื้อทองคำ (เป็นรายจ่าย แต่ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย)

ผมขอยกตัวอย่างเป็นตัวเลขก็แล้วกัน และ ขออธิบายแบบเยิ่นเย้อสักหน่อย เพื่อคนที่ไม่ชอบเรื่องของตัวเลขหรือการคำนวณ จะได้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

นาย ก. มีสินทรัพย์สุทธิเมื่อสิ้นปีที่หนึ่ง 100 ล้าน และ สิ้นปีทีสอง 120 ล้าน
ในระหว่างปีที่สอง นาย ก.มีรายได้ (ไม่ใช่รายรับ) 30 ล้าน มีค่าใช้จ่าย (ไม่ใช่รายจ่าย) 10 ล้าน รายได้สุทธิของนาย ก.เท่ากับ 20 ล้าน ( 30 – 10 ) แสดงว่านาย ก.ร่ำรวยตามปกติ เพราะทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้น 20 ล้าน ( 120 – 100 ) มาจากรายได้สุทธิ 20 ล้าน แต่ถ้าทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 ล้าน แสดงว่าส่วนที่เกินว่า 20 ล้านเป็นส่วนที่ร่ำรวยผิดปกติ เช่น มีทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีที่ 1 เป็นเงิน 25 ล้าน แสดงว่า 5 ล้านเป็นจำนวนเงินที่ร่ำรวยผิดปกติ

การแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินก่อนตำแหน่งทางการเมือง
 
คนที่ต้องการเป็นนักการเมืองด้วยความตั้งใจที่จะหาประโยชน์จากการเป็นนักการเมือง เช่น รับสินบน หรืออื่นๆ ควรแสดงทรัพย์สินและหนี้สินอย่างไร จึงรอดพ้นการตรวจสอบว่าทุจริตได้

คำตอบก็คือ แสดงทรัพย์สินสุทธิให้สูงกว่าความเป็นจริง

เช่น มีทรัพย์สินจริง 300 ล้านบาท ไม่มีหนี้สิน แต่แจ้งว่ามีทรัพย์สิน 350 ล้านบาท วิธีการก็คือ กู้ยืมเงินจากเพื่อน 50 ล้านบาท (กู้ก่อนเป็นนักการเมือง) แล้วเอาเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารไว้ ตอนนี้ก็จะมีทรัพย์สิน 350 ล้านบาทและมีหนี้สิน 50 ล้านบาท (มีทรัพย์สินสุทธิ 300 ล้านบาท) พอเข้าเป็นนักการเมืองแล้ว แสดงทรัพย์สิน 350 ล้านบาท แต่ไม่แสดงว่ามีหนี้สิน 50 ล้านบาท วิธีการแบบนี้เรียกว่าแสดงหนี้สินต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งจะมีผลให้ทรัพย์สินสุทธิสูงเกินความจริง เมื่อได้รับสินบน 50 ล้านบาท ก็นำเอาไปใช้คืนเพื่อน

โดยความเป็นจริงแล้ว นักการเมืองที่ได้รับเงินหรือทรัพย์สินที่มิชอบตามกฎหมาย จะไม่นำเอาเงินหรือทรัพย์สินนั้นไปแสดงไว้ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินของตน แต่จะนำเอาไปไว้กับคนใกล้ชิด

กรณีซุกหุ้น (ครั้งแรก) ของนายกทักษิณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นสมัยท่านเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศในปี 2537 ในนามพรรคพลังธรรม ถูกกล่าวหาว่ายื่นบัญชีทรัพย์สินไม่ครบถ้วน ก็คือมีการโอนหุ้นจำนวนหนึ่งให้คนใกล้ชิดมีมูลค่าประมาณ 600 กว่าล้านบาท อันนี้หมายความว่า แสดงทรัพย์สินต่ำกว่าความเป็นจริง 600 กว่าล้านบาท

คนที่ไม่ชอบนายกทักษิณได้เรียกกรณีนี้ว่า ซุกหุ้น การใช้คำว่า ซุกหุ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ Discredit นายกทักษิณ ทำให้คนที่ไม่มีค่อยมีความรู้เรื่องของการเงินมองว่าเป็นการทุจริต ทั้งๆที่หุ้นจำนวน 600 กว่าล้านเป็นทรัพย์สินของนายกทักษิณ ที่มีอยู่ก่อนแล้วที่จะเข้าสู่วงการเมือง ไม่ได้มีเพิ่มขึ้นในขณะดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพียงแต่ไม่ได้แสดงในบัญชีทรัพย์สิน ถ้าจะมองแบบชาวบ้านๆ ก็ทรัพย์สินของเขา เขาจะโอนให้ใครก็เป็นเรื่องของเขา

คำถามก็คือ การแสดงทรัพย์สินให้ต่ำกว่าความเป็นจริง (ในการเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองในครั้งแรก) มันเอื้อประโยชน์ต่อการฉ่อราษฎร์บังหลวงหรือไม่ ผมเชื่อว่าท่านที่ได้อ่านความเห็นก่อนหน้านี้มาแล้วคงมีคำตอบเหมือนกันผม ก็คือ ไม่ได้เป็นประโยชน์เลย เพราะผมได้บอกไปแล้วว่าถ้าตั้งใจจะฉ่อราษฎร์บังหลวง ต้องแสดงทรัพย์สินสุทธิให้สูงเกินความจริง

แต่ถ้าเป็นการแสดงทรัพย์สินในครั้งถัดๆไป (หลังดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว) แสดงด้วยจำนวนต่ำกว่าความเป็นจริง อันนี้ตั้งเป็นข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่า น่าจะเป็นทรัพย์สิน (ส่วนที่มิได้แสดง) ที่ได้มาโดยมิชอบ อันนี้แหละที่ควรจะเรียกว่า “ซุกซ่อนทรัพย์สิน”

เรื่องซุกหุ้น (แสดงบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จ) ครั้งแรกนี้ ป.ป.ช. ได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อต้นปี 2544 เพื่อตัดสินเรื่องนี้ ผมเชื่อว่าจุดประสงค์ของการให้นักการเมืองแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินก็เพื่อตรวจสอบว่านักการเมืองความร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ก็คือมีการฉ่อราษฎร์บังหลงหรือรับสินบนหรือเปล่า

การที่นายกทักษิณแสดงทรัพย์สินต่ำกว่าความเป็นจริง แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดต่อระเบียบหรือข้อบังคับ หรือกฎหมายของ ป.ป.ช. ก็ตาม แต่ความผิดตรงนี้ มันไม่ได้เป็นช่องทางหรือเป็นประโยชน์ต่อการทุจริตในอนาคตเลย แต่ ป.ป.ช. ก็ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดโดยพิจารณาจากแง่กฎหมายเพียงอย่างเดียว ไม่ได้คำนึงถึงเจตนารมภ์ในการการออกกฎหมายให้นักการเมืองแสดงบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินเลย

ศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 15 ท่าน มีความเห็นว่านายกทักษิณผิด 7 ท่าน และ ไม่ผิด 8 ท่าน
7 ท่านที่เห็นว่าผิดคงจะพิจารณาในข้อกฎหมายเท่านั้น ส่วนอีก 8 ท่านที่เห็นว่าไม่ผิด ผมจำไม่ได้ว่า ท่านให้เหตุผลเช่นใด

การแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินหลังพ้นตำแหน่งทางการเมือง

นักการเมืองที่ชอบหาผลประโชน์จากการดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อได้เป็นนักการเมืองแล้ว และได้รับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่ จะแสดงทรัพย์สินสุทธิต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งทำได้ 2 กรณีคือ แสดงทรัพย์สินต่ำกว่าความเป็นจริง หรือ แสดงหนี้สินสูงกว่าความเป็นจริง

กรณีที่ 1 แสดงทรัพย์สินต่ำกว่าความเป็นจริง
เช่น นายเหลืองรับเงินสินบนมาแล้ว 200 ล้านบาท แล้วเอาไปเข้าบัญชีที่เปิดขึ้นใหม่ ตอนรายงานบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน แจ้งทุกรายการว่ามีทรัพย์สินกี่รายการ หนี้สินกี่รายการ แต่ละรายการมีจำนวนเงินเท่าใด แต่ไม่แจ้งรายการเงินฝากจำนวน 200 ล้านบาท ถ้าเป็นแบบนี้ตรวจสอบปุ๊บก็เจอเลยครับ เพราะการตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคารว่ามีอยู่ที่ใดบ้างไม่ใช่เรื่องยากเย็น อะไร ถ้าจะเปรียบเป็นคนขับรถ ก็ต้องเรียกว่ามือใหม่หัดขับ

ถ้าจะไม่ให้ตรวจสอบพบ ต้องเอาเงินจำนวน 200 ล้านบาทนั้นไปให้คนที่ไว้ใจได้ที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องเป็นคนเก็บเงินจำนวนนั้น ไว้ ซึ่งคนๆนั้นก็อาจจะนำไปเข้าบัญชีตัวเองไว้ และถ้านายเหลืองไม่ไว้ใจคนที่ถือเงินไว้เต็มร้อย ก็อาจจะทำสัญญาเงินกู้ไว้ ถ้าไม่มีการหักหลังกันก็จะรอดพ้นการตรวจสอบไปได้
สมมติต่อไปว่า ถ้าไปตรวจสอบพบสัญญาเงินกู้ ก็จะโดนข้อหาแจ้งทรัพย์สินเป็นเท็จ เพราะแจ้งทรัพย์สินต่ำกว่าความเป็นจริง กล่าวคือไม่แจ้งในบัญชีทรัพย์และหนี้สินว่ามีลูกหนี้ 200 ล้านบาท ก็จะถูกจับได้ว่าร่ำรวยผิดปกติ

กรณีที่ 2 แสดงหนี้สินสูงกว่าความเป็นจริง
เช่น ก่อนที่นายเหลืองจะได้รับเงินสินบน 200 ล้านบาท นายเหลืองก็จะไปกู้เงินจากเพื่อน 200 ล้านบาทเอามาเข้าบัญชีตนเอง พอได้รับสินบน 200 ล้านบาทก็นำเอาไปชำระคืนเพื่อน แต่ตอนรายงานบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินยังแจ้งว่าเป็นหนี้เพื่อนอยู่ 200 ล้านบาทเช่นเดิมทั้งๆที่ได้ชำระคืนไปแล้ว นั่นก็คือ แสดงหนี้สินสูงกว่าความเป็นจริงซึ่งมีผลให้สินทรัพย์สุทธิต่ำกว่าความเป็นจริง

กรณีของเสธ.นั่น แสดงทรัพย์สินสุทธิต่ำกว่าความเป็นจริง โดยแสดงรายการหนี้สินที่ไม่มีอยู่จริงในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่แจ้งไว้ (แจ้งหนี้สินสูงกว่าความเป็นจริง) ถ้าจำไม่ผิดก็คือ แจ้งว่าเป็นหนี้บริษัทเอเอเซอร์วิสประมาณ 400 ล้าน ผม ติดตามฟังการอภิปรายในสภาในกรณีนี้เหมือนกัน และได้ทราบว่ามีนักบัญชีคนหนึ่งได้ไปกระซิบรองโฆษกพรรคความหวังใหม่ของพ่อ ใหญ่จิ๋ว ให้ไปบอกคนอภิปรายว่า เอางบดุลของบริษัทเอเอเซอร์วิสไปแสดงในสภาทุกอย่างก็จบ ไม่ต้องอภิปรายให้เสียเวลา ถ้าเสธ.นั่นเป็นหนี้จริง งบดุลของบริษัทเอเอเซอร์วิสต้องมีลูกหนี้ชื่อเสธ.นั่น 400 ล้านบาทเช่นกัน แล้วเสธ.หนั่นก็ถูกน็อคด้วยงบดุล ผมจำไม่ได้ว่าเรื่องของ 400 ล้านบาทนั้นจบลงอย่างไร

ที่พูดมาไม่ได้เป็นการชี้ช่องทางเพื่อทุจริตแต่อย่างใด ก็เพื่อจะสื่อว่า ถ้าเขาจะทุจริตเขาทำกันอย่างไร ไม่ว่าเป็นนักการเมืองหรือข้าราชการ แต่วิธีที่นักการเมืองมักจะใช้กัน คือ ไปเล่นบ่อนการพนันในต่างประเทศ เพื่อจะใช้เป็นข้ออ้างว่าเงินที่เพิ่มขึ้นมานนั้นได้มาจากการพนัน

นักการเมืองบางคนมารวยตอนเล่นการเมืองนี่แหละ ก่อนเล่นการเมืองก็ไม่เห็นมีอะไรเลย โดยเฉพาะพลพรรคแมลงสาป สร้างภาพว่าตนเป็นคนสมถะ เป็นนักการเมืองมาหลายสิบปี มีทรัพย์สินเงินทองอยู่เพียงนิดเดียว จนผิดปกติโว๊ย น่าสงสาร ชอบแสดงละครเรื่อง “น้ำตาลูกแม่ค้า” เอาเงิน 40 ล้านบาทไปฝากไว้กับคนอื่น เห็นหรือยังว่า ถ้าเข้าเป็นนักการเมืองแล้วต้องแสดงทรัพย์สินต่ำกว่าความเป็นจริง ถ้าแสดงในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินว่ามีเงิน 40 ล้าน ก็จะแจงที่มาไม่ได้

สารบัญบล็อก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น