เรื่องนี้เคยเขียนที่เว็บไซต์ Prachatalk.com เมื่อ 25/12/2012
เงินได้สุทธิ (บาท)
|
อัตราภาษี (%)
|
ภาษีที่เสียลดลงต่อปี (บาท)
| |
เดิม
|
ใหม่
| ||
1 - 150,000
|
ได้รับการยกเว้น
|
ได้รับการยกเว้น
| |
150,001 - 300,000
|
10
|
5
|
7,500
|
300,001 - 500,000
|
10
|
10
| |
500,001 - 750,000
|
20
|
15
|
12,500
|
750,001 - 1,000,000
|
20
|
20
| |
1,000,001 - 2,000,000
|
30
|
25
|
50,000
|
2,000,001 - 4,000,000
|
30
|
30
| |
4,000,000 ขึ้นไป
|
37
|
35
|
2% ของส่วนที่เกิน 4 ล้านบาท
|
เงินได้สุทธิ หมายถึง เงินได้พึงประเมิน (เช่น เงินเดือน ฯ) หัก ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ
ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการลดอัตราการจัดเก็บภาษีสำหรับเพดานสูงสุด (4 ล้านบาทขึ้นไป) ลง 2% ผมว่าถ้ารัฐบาลยังคงจัดเก็บที่อัตรา 37% เช่นเดิม ก็คงไม่มีเศรษฐีคนไหนมาต่อว่ารัฐบาล สองมาตรฐาน หรอก เพราะได้รับการลดภาระภาษีเช่นกันคือปีละ 70,000 บาท
คนโสดมีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว
เงินเดือน 30,000 บาท เสียภาษีลดลงปีละ 6,000 บาท
เงินเดือน 50,000 บาท เสียภาษีลดลงปีละ 8,000 บาท
เงินเดือน 70,000 บาท เสียภาษีลดลงปีละ 20,000 บาท
เสียภาษีที่ลดลงต่อปี คำนวณขึ้นตามข้อสมมติ "เงินเดือนของผู้มีเงินได้ในปี 2556 เท่ากับเงินเดือนในปี 2555 (ไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน)"
อัตราภาษีใหม่นำมาใช้สำหรับรายได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นในปี 2556 (ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีช่วงต้นปี 2557) สำหรับรายได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นในปี 2555 (ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีช่วงต้นปี 2556) ยังคงใช้อัตราเดิม
แยกยื่นภาษี-รวมยื่นภาษี สำหรับสามีภรรยา
แยกยื่นภาษี สามีภรรยาจะเสียภาษีน้อยกว่ารวมยื่นเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อรวมยื่นภาษี เงินได้สุทธิของภรรยาจะไปต่อยอดของสามี มีผลทำให้ไต่ไปสู่ระดับอัตราภาษีที่สูงขึ้น
ยกตัวอย่างก็แล้วกันเพื่อจะเห็นได้ชัดเจน สามีและภรรยาคู่หนึ่งต่างมีเงินเดือนคนละ 70,000 บาทไม่มีบุตรและพ่อแม่ที่ต้องอุปการะ (สามีภรรยาคู่นี้จะมีเงินได้สุทธิคนละ 750,000 บาท)
ใช้อัตราภาษีเดิมคำนวณภาษีได้ดังนี้
เงินได้สุทธิ (บาท)
|
อัตราภาษี (%)
|
ภาษีที่เสียเมื่อแยกยื่น
| |
สามี
|
ภรรยา
| ||
1 - 150,000
|
5
|
ได้รับการยกเว้น
|
ได้รับการยกเว้น
|
150,001 - 500,000
|
10
|
35,000
|
35,000
|
500,001 – 1,000,000
|
20
|
50,000
(250,000 * 20%)
|
50,000
(250,000 * 20%)
|
1,000,001 – 2,000,000
|
30
| ||
กรณีแยกยื่น สามีและภรรยาคู่นี้จะเสียภาษีรวม 170,000 บาท (คนละ 85,000 บาท)
กรณีรวมยื่น เงินได้สุทธิ 250,000 บาท (จาก 750,000 บาท) ของภรรยาจะมาต่อยอดของสามี
เสียภาษีที่ 20% ก็คือ 50,000 บาท และอีก 500,000 บาท (จาก 750,000 บาท) ของภรรยา
จะไต่ยอดขึ้นไปเสียที่ระดับ 30% ก็คือ 150,000 บาท รวมในส่วนของภรรยาที่ต้องเสียภาษี
200,000 บาท นั่นคือ เสียมากกว่าการแยกยื่น 115,000 บาท (200,000 บาท – 85,000 บาท)
|
ใช้อัตราภาษีใหม่คำนวณภาษีได้ดังนี้
เงินได้สุทธิ (บาท)
|
อัตราภาษี (%)
|
ภาษีที่เสียเมื่อแยกยื่น
| |
สามี
|
ภรรยา
| ||
1 - 150,000
|
5
|
ได้รับการยกเว้น
|
ได้รับการยกเว้น
|
150,001 - 300,000
|
5
|
7,500
|
7,500
|
300,001 - 500,000
|
10
|
20,000
|
20,000
|
500,001 – 750,000
|
15
|
37,500
|
37,500
|
750,001 – 1,000,000
|
20
| ||
1,000,001 – 2,000,000
|
25
| ||
กรณีแยกยื่น สามีและภรรยาคู่นี้จะเสียภาษีรวม 130,000 บาท (คนละ 65,000 บาท)
กรณีรวมยื่น เงินได้สุทธิ 250,000 บาท (จาก 750,000 บาท) ของภรรยาจะมาต่อยอดของสามี
เสียภาษีที่ 20% ก็คือ 50,000 บาท และอีก 500,000 บาท (จาก 750,000 บาท) ของภรรยา
จะไต่ยอดขึ้นไปเสียที่ระดับ 25% ก็คือ 125,000 บาท รวมในส่วนของภรรยาที่ต้องเสียภาษี
175,000 บาท นั่นคือ เสียมากกว่าการแยกยื่น 110,000 บาท (175,000 บาท – 65,000 บาท)
|
สรุป เพื่อเปรียเทียบ : แยกยื่นภาษี vs รวมยื่นภาษี และ อัตราภาษีเดิม vs อัตราภาษีใหม่
สำหรับสามีและภรรยาคู่หนึ่งซึ่งต่างมีเงินเดือนคนละ 70,000 บาทไม่มีบุตรและพ่อแม่ที่ต้องอุปการะ
รายการ
|
อัตราภาษีเดิม
|
อัตราภาษีใหม่
|
ผลต่างภาษี
|
แยกยื่นภาษี
|
170,000 บาท
|
130,000 บาท
|
40,000 บาท
|
รวมยื่นภาษี
|
285,000 บาท
|
240,000 บาท
|
45,000 บาท
|
แยกยื่นเสียภาษีน้อยกว่า
|
115,000 บาท
|
110,000 บาท
|
5,000 บาท
|
สารบัญบล็อก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น